การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้วยสุนทรียสนทนาสำหรับพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

สุภัทรา ภักดีศรี
สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล
ลดาวัลย์ รวมเมฆ

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยและการพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้วยสุนทรียสนทนาสำหรับพยาบาลวิชาชีพในแผนกผู้ป่วยในพิเศษโรงพยาบาลชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์

            กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยในพิเศษตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจำนวน 8 คน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยทบทวนวรรณกรรม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  แบบสอบถามแรงจูงใจและแบบสอบถามสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้วยสุนทรียสนทนา โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องสุนทรียสนทนาแก่พยาบาลวิชาชีพ และนำไปใช้ในแผนกผู้ป่วยในพิเศษ โดยแบ่งกลุ่มสนทนาตามประเด็นปัญหาตามความสมัครใจใน 4 ประเด็นคือ 1) อัตรากำลังและตารางการปฏิบัติงาน 2) สวัสดิการและวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน 3) การสื่อสารในการปฏิบัติงาน 4) การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับงานประจำ โดยแต่ละกลุ่มรับผิดชอบกำหนดตารางเวลาในการทำสุนทรียสนทนาจนได้ข้อตกลงร่วมกัน ระยะที่ 3 เปรียบเทียบแรงจูงใจและสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานก่อนเริ่มการวิจัยและหลังจากทุกกลุ่มได้รับข้อสรุปร่วมกัน ซึ่งใช้เวลา 11 เดือน ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มพยาบาลวิชาชีพในแผนกผู้ป่วยในพิเศษ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวทางสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามแรงจูงใจและแบบสอบถามการประเมินสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่พัฒนาโดย สมจิตร พูลเพ็ง (2550) ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และทดสอบความเที่ยงกับพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลชนแดน 20 คน ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 และ 0.76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่าหลังการใช้สุนทรียสนทนาพยาบาลวิชาชีพในแผนกผู้ป่วยในพิเศษ มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และการประเมินสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน สูงขึ้นกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 นอกจากนี้ยังพบการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในด้านสัมพันธภาพระหว่างผู้ร่วมงาน การทำงานร่วมกันเป็นทีมและพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจในงานสูงขึ้น

 

ABSTRACT

            The objective of this research and development was to develop the motivation enchantment to work program using dialogue technique for professional nurses at special in-patient care unit of Chon Daen Hospital,  Phetchabun Province

            The target population was eight professional nurses who had work experience at least one year in special in-patient unit. The research was consisted of three phases; First, Studying the work situations of professional nurses by literature review, non-participant observation and evaluated work-related motivation and workplace environment of professional nurses using the questionnaires Second, developing program by dialogue training workshop for professional nurses and implementing the program at the special in-patient unit.  The dialogue was done in four issues: (1) nurse staffing and work schedules (2) welfare and equipment and supplies for work (3) communication in the workplace and (4) using a computer program in routine work. The dialogue schedule was set by the member of each group.  Third, evaluation the program, the work’s motivation and work environment of professional nurses were compared between before and after 11-month program implementation.  In-depth interview and focus group discussion the professional nurses in special in-patient care unit were done.  The instruments consisted of in-depth interview guideline, work-related motivation questionnaire and workplace environment questionnaire which were developed by Somjit poolpeng (2550). Content validity of the instruments were examined by five experts .The Cranbach’s alpha coefficients of the questionnaires were .86 and.76, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, paired t test and content analysis.

            The findings showed that after program implementation, professional nurses rated significantly higher scores of work-related motivation and workplace environment than prior the program implementation at .05 levels. Moreover, the positive improvements were found in the relationship, team working, communication and job satisfaction of professional nurses. 

Article Details

Section
บทความ