แนวทางการพัฒนาถนนคนเดิน ตลาด 200 ปี ปราณบุรี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

Main Article Content

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า
กอบกาญจน์ ศักดิ์ประเสริฐ
ภาวิณี สอาดศรี
วนชัย อุทินทุ

Abstract

บทคัดย่อ

               การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในชุมชนถนนคนเดิน ตลาด 200 ปี ปราณบุรี อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนถนนคนเดิน ตลาด 200 ปี ปราณบุรี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ระดับลึก แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้วิจัยจะสัมภาษณ์ไปเรื่อย ๆ เมื่อผู้ให้ข้อมูลหลักตอบซ้ำกันผู้วิจัยจึงหยุดการสัมภาษณ์ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามแบบปลายปิดและปลายเปิด เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรเป้าหมาย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปจากการศึกษา ประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้   แบ่งออกเป็นกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลหลัก มี 4 กลุ่ม คือ 1) นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 384 คน 2) ผู้นำในชุมชนและคณะกรรมการบริหารจัดการถนนคนเดิน ตลาด 200 ปี ปราณบุรี จำนวน 7 คน 3) ผู้ประกอบการบริเวณถนนคนเดิน ตลาด 200 ปี ปราณบุรี จำนวน 9 คน และ 4) ชาวบ้านในชุมชนถนนคนเดิน ตลาด 200 ปี ปราณบุรี จำนวน 7 คน

               ผลการศึกษา พบว่า ถนนคนเดินตลาด 200 ปี ปราณบุรี มีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม  โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เนื่องจากมีความพร้อมในด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก แต่ยังมีข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้าน ที่ต้องพัฒนา อาทิ ป้ายบอกทาง ห้องสุขา ที่จอดรถ เป็นต้น แนวทางการพัฒนาถนนคนเดิน ตลาด 200 ปี ปราณบุรี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า ควรมีการพัฒนา 6 ด้าน คือ ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการเข้าถึง ด้านการจัดการร้านค้า ด้านบุคลากร และด้านการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

 

Abstract

               The aims of this study are to study about satisfaction of the tourists and related people who involved with the 200 years Pranburi market, Pranburi District, Prachuap khiri khan Province and propose the potential development guideline  for the 200 years Pranburi market to be a cultural tourism destination through community participation. This research applied both the qualitative (Participant Observation and In-depth Interview) and quantitative (Questionnaire) research technique for data collection. The researcher used snowball sampling. There were four groups of participants, consisting of 1) 384 Thai tourists 2) 7 community leaders and the administrative managers of the 200 years Paranburi market 2) 9 entrepreneurs in the 200 Pranburi years market area and 4) 7 people in the 200 years Praburi market community

               Analysis of the study results found that 200 years Pranburi market has potential to be a cultural tourism destination with the cooperation of the local community as evidenced by the available resources including attractions, as well as facilities. However, some resources were limited that should be developed such as car park, sign, toilet etc.

               According to the study, analysis of potential directions for development of the 200 Pranburi years market to be  a cultural tourism destination through community participation identified six factors which were needed to improve that are attraction, facilities, accessibility, management shop, people and management   by community participation.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ