การพัฒนาแบบฝึกการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ศิลปิน บุญจันทร์ศรี

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึก  3)   เพื่อทดลองใช้แบบฝึก  4) เพื่อประเมินและปรับปรุงแก้ไขแบบฝึก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  จำนวน 45 คน โดยทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554  ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 5  สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งหมด10 ชั่วโมง แผนการทดลอง คือ One Group Pre-test  Post-test Design เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์  แบบฝึก และแบบทดสอบผลการเรียนรู้เรื่องการอ่านเพื่อความเข้าใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา   ผลการวิจัยพบว่า

               จากแบบฝึกการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  พบว่า ผลการเรียนรู้ด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นว่า ในด้านบรรยากาศมีการเรียนการสอนที่เป็นกันเองและแบบฝึกมีเนื้อหาน่าสนใจ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาแบบฝึกช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจมากขึ้น และต่ำสุดในด้านลักษณะของแบบฝึก กิจกรรมของแบบฝึกเหมาะสมกับเวลา

 

ABSTRACT

               The purposes of this research were 1) to study basic data 2) to find and develop reading exercise efficiency 3) to try out the reading exercise 4) to evaluate and improve the reading exercise. The samples for this research were from Mattayom 4 of Wangklaikangwon School Hua Hin District, Prachuap Khiri Khan, 45 students were involved in the 2nd semester academic year 2011, duration 2 hours per week for 5 weeks totally 10 hours. The experiment was One Group Pre-test – Post-test Design. The tools used in this research were Questionnaires, Interview forms, Exercises and Learning outcome Tests of Reading Exercise toward understanding. The data was analyzed by the basic statistical analysis technique, Percentage, Mean, Standard derivation, T-test (Dependant) and content analysis. Results of the research were the following;

               The results showed that the use of the reading comprehension exercises using local information for the Mathayom 4 students showed that the learning outcome of both  post-test was higher than pre-test statistically significant at 0.01. The opinions from students about the reading comprehension exercises using local information were that the friendly atmosphere and the familiar contents of exercise are interesting at the highest level. This was followed by the information that the exercise helps to motivate student to learn more. Least important are the style of the exercise and exercises activities suited to the time available.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ