การพัฒนากิจกรรมโครงงานภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องท้องถิ่นจังหวัดนครปฐมเพื่อพัฒนาทักษะทางการอ่าน-เขียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ธมน ชัชวาลกิจกุล

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมโครงงานภาษาอังกฤษฯ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมโครงงานภาษาอังกฤษฯและ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมโครงงานภาษาอังกฤษฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กิจกรรมโครงงานภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม 2) แบบทดสอบความสามารถทางการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษฯ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อกิจกรรมโครงงานภาษาอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม ผลการวิจัยพบว่า1) ประสิทธิภาพของกิจกรรมโครงงานภาษาอังกฤษฯ มีค่าเท่ากับ 81.22/77.17 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 2) ความสามารถทางการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างสูงขึ้นหลังเรียนด้วยกิจกรรมโครงงานภาษาอังกฤษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่ดีมากต่อกิจกรรมโครงงานภาษาอังกฤษฯที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

 

Abstract

               The purposes of the research were 1) to develop and test the efficiency of English project activities related to local topics of Nakhon Pathom to develop reading-writing skills of Matthayomsuksa Five students, Joseph Upatham School, Sampran Nakhon Pathom; 2) to compare the students’ ability in English reading-writing before and after using English project activities and 3) to survey the students’ opinions toward the English project activities. The sample comprises 30 Matthayomsuksa Five students of Joseph Upatham School, Sampran Nakhon Pathom, during the academic year 2012.                 

               The instruments used for gathering data consisted of: 1) English project activities related to local topics of Nakhon Pathom; 2) an English achievement test on reading-writing, used as a pretest and posttest and 3) a questionnaire on opinions toward the English project activities. The results of the study were as follows: 1) The efficiency score of the English project activities was 81.22/77.17. The average score of the English reading-writing formative test from the 5 units was 81.22 percent and the average score of the posttest was 77.17 percent. Consequently, the efficiency score of the English project activities is higher than the expected criterion (75/75); 2) The students’ ability in reading-writing after studying through the English project activities was significantly higher at the 0.05 level and 3) The students’ opinions toward the English project activities were highly positive.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ