การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นปัญหาการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษ สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 วิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

เอกนุช ณ นคร

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นปัญหาการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษของนิสิตก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นปัญหาการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษ และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นปัญหาการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 วิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เน้นปัญหาการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษ 3)แบบสอบถามความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฯ มีค่าเท่ากับ 76.90/75.33 ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 2) ความสามารถทางการเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างสูงขึ้นหลังจากที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่ดีมากต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

 

Abstract

               The purposes of the research were: 1) to develop and test the efficiency of a Computer-Assisted Language Learning (CALL) Program focusing on English paragraph writing problems for first-year English major students, Faculty of Arts and Science, Kasetsart University, Kampangsaen Campus, Nakorn Pathom; 2) to compare the students’ ability in English paragraph writing before and after using the CALL programs; and 3) to survey the students’ opinions toward the CALL program. The sample, comprises 30 first year English major students, Faculty of Arts and Science Kasetsart University, Kampangsaen Campus, Nakorn Pathom, during the first semester of the academic year 2012. The instruments used for gathering data consisted of: The instruments used for gathering data consisted of: 1) Computer-Assisted Language Learning Program on English paragraph writing problems; 2) an English paragraph writing proficiency test was used as pre-test and post-test; 3) a questionnaire on opinions towards the CALL program. The results of the study were as follows: 1) The efficiency score of the CALL program was 76.90 and 75.33. The average score of the English Paragraph Writing formative test from the 5 units was 76.90 percent and the average score of the posttest was 75.33 percent. Consequently, the efficiency score of the CALL program is according to the expected criterion (75/75); 2) The students’ ability in English paragraph writing after studying through the CALL program was significantly higher at the 0.05 level; and 3) The students’ opinions toward the CALL program were highly positive.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ