การพัฒนาปรีชาเชิงอารมณ์ตามแนวพุทธศาสนาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้การสอนแบบไตรสิกขา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

กฤตชัย ชุมแสง
อังคณา ตุงคะสมิต

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาปรีชาเชิงอารมณ์ตามแนวพุทธศาสนาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคมโดยใช้การสอนแบบไตรสิกขา โดยกำหนดเกณฑ์การผ่านของนักเรียนที่ระดับมาก และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด  2)  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคมโดยใช้การสอนแบบไตรสิกขาซึ่งกำหนดเกณฑ์การผ่านร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด  กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ห้องเรียน 5/1 โรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคมจำนวน 39  คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบัวใหญ่พิทยาคม  จังหวัดขอนแก่น  การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1)  เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติ  ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนา (ส32102) จำนวน 9 แผน ใช้เวลา 9 ชั่วโมง  2)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสะท้อนผลการปฏิบัติ  ได้แก่  แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู  แบบทดสอบท้ายวงจร  แบบประเมินปรีชาเชิงอารมณ์ตามแนวพุทธศาสนา  และแบบสัมภาษณ์ปรีชาเชิงอารมณ์ตามแนวพุทธศาสนา 3)  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล  ได้แก่  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดปรีชาเชิงอารมณ์ตามแนวพุทธศาสนา

               ผลการวิจัย พบว่า

               1)  นักเรียนมีปรีชาเชิงอารมณ์ตามแนวพุทธศาสนา ที่ค่าเฉลี่ย 3.88 อยู่ในระดับมาก  และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวจำนวน 32  คน คิดเป็นร้อยละ 82.05 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

               2)  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 88.43  ของคะแนนเต็ม  และจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวจำนวน 30  คน คิดเป็นร้อยละ 76.42 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 

 

Abstract

               The objectives of this research were:  1) to study Grade 11 Students’ Emotional Intelligence based on Buddhist Principles in Social Studies, Religion, and Culture Learning Substance, Buayai-pittayakom School, by using Threefold Learning Model, through the passing criterion on “High” level, and not less than 70%  of all students should pass the criterion, and 2) to develop Graduate 11 Students’ Emotional Intelligence based on Buddhist Principles in Social Studies, Religion, and Culture Learning Substance, Buayai-pittayakom School by using the Threefold Principles which was passed the criterion as 70% of full score, and 70% of total number of students passed the specified criterion.

               The target group of this study included 39 Grade 11 Students in 5/1 class, Buayai-pittayakom School, Khon Kaen Province, who were studying during the second semester of 2012 school year, Buayai-pittayakpm School, Khon Kaen Province.

               This study was an Action Research.  There were 3 kinds of research instrument as:  1) the instrument using for practice included 9 Learning Management Plans So32101 Buddhism Subject, 9 hours, 2) the instrument using for collecting data and reflecting the performance included the Teacher’s Teaching Behavior, the End Cycle Test, the Evaluation Form of Emotional Intelligence based on Buddhist Principles, and the Interview Form of Emotional Intelligence based on Buddhism, and 3) the instrument using for evaluation included the Learning Achievement Test, and the Emotional Intelligence based on Buddhist Principles. 

               The research findings found that :

               1)   The students had average score of Emotional Intelligence based on Buddhist Principles = 3.88 which was in “High” level, and 32 students or 82.05% of them, could pass the specified criterion.

               2)   The students had their learning achievement = 88.43 of full score, which was in “High” level, and there were 30 students or 76.42% of them could pass the specified criterion.     

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ