การศึกษาผลการเรียนรู้และความคงทนในการเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus

Main Article Content

สุวรรณา ดวงสวัสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

               ผู้วิจัยได้ศึกษาผลการเรียนรู้และความคงทนในการเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus ให้มีประสิทธิภาพ  2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ก่อนและหลังการจัดเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus  4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลังจากจัดการ เรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH  Plus 5)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH  Plus กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักเรียน ประกาศนียบัตรวิชาชีพของวิทยาลัยการอาชีพกาญจนบุรี จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน ได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2)แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้  3) แบบสอบถามความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า 1)แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.26/83.46 2) ผลการเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus สูงกว่าผลการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพหลังการจัดเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับการจัดเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus มีความคงทนในการเรียนรู้ 5) นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH Plus โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

 

Abtract

               The objectives of this research were 1) to develop learning plans on the Relationship between Thai and World  Economics of vocational certificate studens taught by  KWLH Plus technique, 2) to compare learning outcomes  on relationship between Thai and World Economics of vocational certificate studens taught by KWLH  Plus  technique with traditional learning, 3) to compare learning outcomes on  the Relationship  between  Thai  and World Economics of vocational certificate studens taught by KWLH Plus technique before and  after KWLH Plus technique teaching , 4) to study  the retention  toward  learning  of  vocational  certificate studens taught  by  KWLH Plus  technique, and 5) to study opinions of vocational certificate students taught  by  KWLH Plus  technique. The sample group  of  this  research  was vocational  certificate students  Kanchanaburi  Industrial  and  Community  Education  College composed of two  classrooms  and  thirty  students  per  class.  The  tools  using  in  the  research  consisted  of  learning  plans,  learning  tests ,and the questionnaires. The research findings of the study were : 1) the sufficient  mean of KWLH Plus technique learning plan was 81.26/83.46  2)  the  learning outcomes on relationship between Thai and World economics of vocational certificate students taught by KWLH Plus technique with traditional learning were significant difference at 0.5 level  3) the learning outcomes on  relationship between Thai and World economics of vocational certificate students before and after taught by KWLH  Plus were  significant difference at 0.5 level 4) Vocational  certificate  students  taught  by  KWLH Plus  technique had retention of learning 5) The opinions of Vocational Certificate  students towards teaching by  KWLH Plus technique were at good level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ