การศึกษารูปแบบตัวการ์ตูนแบบพื้นฐานญี่ปุ่นและแบบพื้นฐานอเมริกา เพื่อการออกแบบหนังสือประกอบการเรียน สำหรับนักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

Main Article Content

ชาญศักดิ์ พบลาภ

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบตัวการ์ตูนแบบพื้นฐานญี่ปุ่นและแบบพื้นฐานอเมริกาสำหรับการออกแบบหนังสือประกอบการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 และช่วงชั้นที่ 4 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบตัวการ์ตูนแบบพื้นฐานญี่ปุ่นและแบบพื้นฐานอเมริกาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 และช่วงชั้นที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียน ระหว่างช่วงชั้นที่ 2 กับช่วงชั้นที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบตัวการ์ตูนแบบพื้นฐานญี่ปุ่น 4) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียน ระหว่างช่วงชั้นที่ 2 กับช่วงชั้นที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบตัวการ์ตูนแบบพื้นฐานอเมริกา ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพในการวิจัยครั้งนี้ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบตัวการ์ตูนพื้นฐาน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและใช้วิธีการสังเกต 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบตัวการ์ตูนแบบพื้นฐานญี่ปุ่นและแบบพื้นฐานอเมริกา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 2 และช่วงชั้นที่ 4โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยให้อ่านหนังสือประกอบการเรียนที่มีตัวดำเนินเรื่องเป็นตัวการ์ตูนแบบพื้นฐานญี่ปุ่นและแบบพื้นฐานอเมริกาที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) หนังสือประกอบการเรียนประกอบการเรียนที่มีตัวดำเนินเรื่องเป็นตัวการ์ตูนแบบพื้นฐานญี่ปุ่นและแบบพื้นฐานอเมริกา 2) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบตัวการ์ตูนแบบพื้นฐานญี่ปุ่นและแบบพื้นฐานอเมริกาสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test Dependent)ผลการวิจัยพบว่า1) ตัวการ์ตูนพื้นฐานญี่ปุ่นสร้างออกมาเพื่อให้มีลักษณะที่เน้นให้สามารถ สื่อสารและติดตามได้ง่าย สบายตา ตัดทอนหรือเพิ่มเติมรายละเอียดให้เกินความจริงออกไปจากธรรมชาติ ภาพรวมของตัวการ์ตูนให้ความรู้สึกเบาสบาย น่ารัก สนุกสนาน ส่วนตัวการ์ตูนพื้นฐานอเมริกาจะเน้นในเรื่องของกายวิภาคที่สมส่วน  ลายเส้นมีรายละเอียดและความคมชัด  เหมือนเปลี่ยนจากภาพถ่ายมาเป็นภาพลายเส้น ทำให้ภาพรวมของตัวการ์ตูนมีลักษณะรุนแรงมากว่า ดิบกว่า ให้ความรู้สึกหนัก เคร่งขรึม 2) นักเรียนช่วงชั้นที่ 2 และช่วงชั้นที่ 4 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบตัวการ์ตูนพื้นฐานญี่ปุ่นมากกว่ารูปแบบตัวการ์ตูนแบบพื้นฐานอเมริกา 3)ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบตัวการ์ตูนพื้นฐานญี่ปุ่นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2กับช่วงชั้น 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยความพึงพอใจต่อรูปแบบตัวการ์ตูนแบบพื้นฐานญี่ปุ่นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 มีมากกว่าช่วงชั้นที่ 4 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบตัวการ์ตูนพื้นฐานญี่ปุ่นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 กับช่วงชั้น 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยความพึงพอใจต่อรูปแบบตัวการ์ตูนแบบพื้นฐานญี่ปุ่นของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 มีมากกว่าช่วงชั้นที่ 4

 

Abstract

               This research objective were : 1) to study a learning book using Japanese and American models 2) to study the students’ satisfaction of the cartoon models 3) to compare student’s satisfaction of Japanese cartoon model between grade 2 and 4 students and 4) to compare student’s satisfaction of American cartoon model between grade 2 and 4 students. The qualitative data in this study was collected from: 1) experts in cartoon design by purposive interview and observation methods 2) studying students’ satisfaction for learning books that used Japanese and American cartoon styles. The study group was students in level 2 and 4, Kasetsart University Laboratory School Kamphaengsean Campus Center for Educational Research and Development Students, Kampangsan, NakhonPathom Province The research instruments that are used in this study are 1) interview form 2) learning book 3) satisfaction questionnaire. Data analysis includes the mean ( ), standard deviation (SD) and t-test (dependent).The results showed that 1) The basic Japanese cartoon characters are developed based on simplicity with less detail.  The overview of the Japanese cartoon characters look simple and easy which is different from the American cartoon that is based on the anatomy of the asymmetry over. Drawings are more detailed and sharp. The overview of the American cartoon’s characters looks more serious than Japanese cartoon. 2) The students of satisfaction toward Japanese cartoon characters was higher than America cartoon characters. 3) The Satisfaction of the students in different grade levels toward Japanese cartoon characters has a significant statistical difference at the level 0.05. The Grade 4-6 students had a higher satisfaction for Japanese cartoon characters than the Grade 10-12 students. 4) The Satisfaction of the students in different grade levels toward Japanese cartoon characters has a significant statistical were not different at the level 0.05.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ