ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีสอนแบบอุปนัย-นิรนัย วิชา คอมพิวเตอร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอรุณประดิษฐ

Main Article Content

นวพล วิชัย

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีการสอนแบบอุปนัย  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีการสอนแบบนิรนัย 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีการสอนแบบอุปนัยกับกลุ่มที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีการสอนแบบนิรนัย 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีการสอนแบบอุปนัยและกลุ่มที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีการสอนแบบนิรนัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอรุณประดิษฐ จังหวัดเพชรบุรี ปีการศึกษา 2555 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 1) กลุ่มที่เรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีการสอนแบบอุปนัย วิชา คอมพิวเตอร์ จำนวน 30 คน 2) กลุ่มที่เรียนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีการสอนแบบนิรนัย วิชา คอมพิวเตอร์ จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีจับฉลากจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย-นิรนัย 2) สื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คอมพิวเตอร์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบแบบ ที (t-test) แบบ Independent และแบบ Dependent

               ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยสื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีสอนแบบอุปนัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยสื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีสอนแบบนิรนัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีสอนแบบอุปนัยมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีสอนแบบนิรนัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียน วิชา คอมพิวเตอร์ ด้วยสื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีสอนแบบอุปนัย พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  และนักเรียนชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียน วิชา คอมพิวเตอร์ ด้วยสื่อมัลติมีเดียที่มีการสรุปด้วยผังความคิดร่วมกับวิธีสอนแบบนิรนัย  พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

 

Abstract

               The purposes of this research were 1) to compare learning achievement before and after learning through multimedia by mind mapping summary with induction teaching method on learning achievement of introduction to computer lesson for matthayomsuksa 1 students. 2) to compare learning achievement before and after learning through multimedia by mind mapping summary with deduction learning teaching method on learning achievement of introduction to computer lesson for matthayomsuksa 1 students. 3) to compare learning achievement after learning through multimedia by mind mapping summary with induction-deduction teaching method on learning achievement of introduction to computer lesson for matthayomsuksa 1 students. 4) to study students’ satisfaction toward the multimedia by mind mapping summary with induction-deduction teaching method on learning achievement of introduction to computer lesson for matthayomsuksa 1 students. The sample of this research were 60 students of matthayomsuksa 1 students of Aroonpradit School, academic year 2012 which divided into experimental group of 30 students and control group of 30 students. The instruments used for research were : 1) lesson plans. 2) multimedia by mind mapping summary with induction-deduction teaching. 3) learning achievement tests. 4) the satisfaction questionnaire of learning through quality evaluation of content. The data were statistically analyzed by using percentage (%),arithmetic mean (), standard deviation (S.D.) t-test of independent and dependent.

               The results of the were as follow

               1.   The pre and post learning achievement was taught by the multimedia and concluded as the mind mapping together with the induction teaching method found that the post learning achievement is higher than the pre learning achievement, be statistically significant difference at the level of .05.

               2.   The pre and post learning achievement was taught by the multimedia and concluded as the mind mapping together with the induction - deduction teaching method found that the post learning achievement is higher than the pre learning achievement, be statistically significant difference at the level of .05.

               3.   The students’ post learning achievement was taught by the multimedia and concluded as the mind mapping together with  the induction teaching method found that the learning achievement is higher the learning achievement was taught by the multimedia, that was concluded by the mind mapping together with the induction - deduction teaching method , be statistically significant difference  at the level of .05.

               4.   The matthayomsuksa 1 students’ satisfaction on the learning computer, who were learned by the multimedia and concluded as the mind mapping together with  the induction teaching method  found that the students satisfied at the the students’ satisfaction is at excellent level. The matthayomsuksa 1 students’ satisfaction on the learning computer, who were learned by the multimedia and concluded as the mind mapping together with  the together with  the induction- deduction teaching method found that the students’ satisfaction is at good level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ