วาทกรรมการพัฒนาชุมชนบ้านหนองกระโดนมน อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี : ถอดรหัสการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ด้วยวิธีวิทยา การวิเคราะห์วาทกรรม

Main Article Content

กุลธิดา ภูฆัง
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยเรื่องวาทกรรมการพัฒนาชุมชนบ้านหนองกระโดนมน อำเภอหนองหญ้าไซ  จังหวัดสุพรรณบุรี  : ถอดรหัสการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง ด้วยวิธีวิทยา การวิเคราะห์วาทกรรม ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจถึงกระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งของชุมชนบ้านหนองกระโดนมน ว่ามีกระบวนการอย่างไร และมีกระบวนการผลิตซ้ำทางสังคม ในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งของเขาอย่างไร วิธีการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์วาทกรรมตามแนวทางของแฟร์คลาฟ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้นำชุมชน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล  คณะกรรมการชุมชน ประธานกลุ่มอาชีพ ประชาชน ชุมชนบ้านหนองกระโดนมน และตัวแทนหน่วยงานราชการที่มีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน  จำนวน 13 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์วาทกรรม โดยวิเคราะห์จากตัวบท ภาคปฏิบัติการทางวาทกรรม และภาคปฏิบัติการทางสังคม ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งของชุมชนบ้านหนองกระโดนมน เริ่มจากประชาชนพบปัญหาด้านสุขภาพจากสารพิษ ที่มาจากการทำการเกษตร  ซึ่งชุมชนได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและร่วมกันศึกษาถึงสาเหตุ และแนวทางแก้ไขโดยนำแนวคิดเกษตรอินทรีย์มาใช้ในการเกษตรแทนปุ๋ยเคมี  นับเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการขับเคลื่อนชุมชนสู่ความเข้มแข็ง โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในชุมชน ทั้งบ้าน วัด โรงเรียน ส่วนราชการ (บ.ว.ร.ส.)  มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ โดยใช้เวทีประชาคมในการร่วมแก้ไขปัญหาของชุมชน  มีการนำศาสนาและวัฒนธรรมมาเป็นกลไกในการประสานพลัง รวมทั้งการส่งเสริมวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีเข้ามาขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชนร่วมกัน

 

Abstract

               The research on the discourse of community development ban Nong Kradon Mon, Amphoe Nong Ya Sai, Suphanburi : Decoding the development of a strong community. With methodology discourse analysis. The purpose of this research was to understand the development of a strong community of Ban Nong Kradon MON, how it processed and the processed of social reproduction. In the development of their communities, however. This research approach is qualitative research by discourse analysis approach of Norman Fairclough. Researchers had collected data by using in-depth interviewed with leaders, Members Organization, Boards' community, Chairman of the careers group, members of the community and representative government with 13 people. This article has been analyzed by the discourse analysis of text, discursive practice and social practice.

               The results showed that The development of a strong community of Ban Nong Kradon Mon had public health issues that were caused from toxic chemicals that were used in farming. The community was aware of the problem and did some collaborative studies on the issue. They came up with a solution. Instead of using chemical fertilizers, they interpreted the concept of organic farming. Since the beginning of the process to strengthen community-driven. By the participation of all sectors of the community, both at the School of Government (B.w.r.s.) an opportunity for public comment on the issues. With the community to address the issue of community participation. With the religion and culture as a mechanism to coordinate power. Including the promotion of culture and traditions come together in community-driven activities.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ