ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารรอบตัวเราที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

พรพิมล ดอนหงษ์ไผ่

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารรอบตัวเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยสื่อมัลติมีเดียแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารรอบตัวเรา 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยสื่อมัลติมีเดียแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารรอบตัวเรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ได้จากการสุ่มด้วยวิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random Sampling) 1  ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) สื่อมัลติมีเดียแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารรอบตัวเรา 3) แบบประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดียแบบสืบเสาะหาความรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารรอบตัวเรา 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ( X )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที(t-test) dependent

               ผลการวิจัยพบว่า

               1.   สื่อมัลติมีเดียแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารรอบตัวเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 76.23/75.43 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

               2.   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องสารรอบตัวเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

               3.   ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารรอบตัวเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

 

Abstract

               The purpose of this research were 1) To develop the multimedia based on the inquiry processs on substance around us for pathomsuksa six students. 2) To compare learning

achievement of pathomsuksa six students before and after studying with multimedia based on

the inquiry processs on substance around us. 3) To study capability in solving scientific problems of pathomsuksa six students before and after studying with multimedia based on the inquiry processs on substance around us. The research samples consisted of 30 students of pathomsuksa six from Plubplachai School, U-thong District, Suphanburi. The research was conducted within the first semester of academic year 2012, were selected as research samples

by simple random sampling. The instrument of this research were 1) Structured interview form for the specialists. 2) Multimedia based on the inquiry processs. 3) Assessment form of the multimedia based on the inquiry processs. 4) The learning achievement test. 5) The capability in solving scientific problems test. The statistical analysis employed were mean, standard deviation and t-test dependent.

               The results of this search were as follow :

               1.   The efficiency of the multimedia based on the inquiry processs score was 76.23/75.43 which met prescribed criterion.

               2.   The students’ achievement on substance around us of prathomsuksa 6 students

after learning by using multimedia based on the inquiry processs on substance around us were statistically significant higher than before at .01 level.

               3.   Capability in solving scientific problems of pathomsuksa six students after learning by using multimedia based on the inquiry processs on substance around us have significant difference at .01 level. Capability in solving scientific problems after learning higher than before.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ