การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย

Main Article Content

กัญวัญญ์ ธารีบุญ
นพดล เจนอักษร

Abstract

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย 2) ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย และ 3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย ประชากรได้แก่ โรงเรียนเอกชนสายสามัญ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร ที่มีการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย จำนวน 321 โรง ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากการใช้ตารางประมาณการขนาดตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง 175 โรง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน แห่งละ 2 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 298 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน

               ผลการวิจัยพบว่า

               1. การบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ โดยเรียงจากมากไปน้อยดังนี้คือ ความผูกพันต่อองค์การ การพัฒนาทีมงาน การกระจายอำนาจ ความไว้วางใจกัน การให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ การตัดสินใจร่วมกัน การร่วมกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ความเป็นอิสระในการบริหารองค์การ และเข้าใจธรรมชาติขององค์การ

               2. ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหาร ประกอบด้วย 12 องค์ประกอบ คือ ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ บรรยากาศการทำงานที่ปราศจากพิธีรีตอง การมีส่วนร่วม การรับฟังซึ่งกันและกัน  ความไม่เห็นด้วยในทางบวก ความเห็นพ้องกัน การสื่อสารที่เปิดเผย บทบาทและการมอบหมายงานที่ชัดเจน  ภาวะผู้นำร่วม ความสัมพันธ์กับภายนอก รูปแบบการทำงานที่หลากหลาย และการประเมินผลงานของตนเอง

               3. ผลการวิเคราะห์พบว่าการบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านความผูกพันต่อองค์การ ด้านความเป็นอิสระในการบริหารองค์การ และด้านการร่วมกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันว่า มีความเหมาะสม  เป็นประโยชน์ และสามารถนำไปใช้ได้จริง สอดคล้องกับกรอบแนวคิดทฤษฎีของการวิจัย

Abstract 

                The purposes of this research were to determine; 1) the participative administration of private kindergarten school administrator, 2) the teamwork efficiency of private kindergarten school administrator and 3) the causal effect of participative administration to teamwork efficiency of private kindergarten school administrator. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan’s table from 321 private kindergarten schools. The school samples used in this study was 175 schools and respondent of each school were 2 administrators, totally 298 respondents. Questionnaire and interview were used as research instrument and frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis, confirmatory factor analysis and stepwise multiple regression analysis were employed for statistical data analysis.

The finding of this study were as follows:

1)   The participative administration of private kindergarten school administrator composed 9 factors consisting of organizational commitment, team development, decentralization, trust, provision of information, decision makings, mutual objective and goal setting, self - dependence and understanding the nature of organizations, consequently.

2)   The teamwork efficiency of private kindergarten school administrator composed 12 factors including clear sense of purpose, informal climate, participation, listening, civilized disagreement, consensus, open communication, clear  roles  and  work  assignments, shared  leadership, external  relations, style  diversity and self  assessment, consequently.

3)   The participative administration in terms of organizational commitment, self – dependence, and mutual objective and goal setting had an influence on the teamwork efficiency of private kindergarten school administrator. Additionally, the professionals had agreed that this study result was useful, advantageous and applicable in accordance with theoretical conceptual research framework.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

กัญวัญญ์ ธารีบุญ

ตำหแน่ง ครู

โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย (ประถม)