รูปแบบและเครือข่ายการเสริมสร้างความดีภายใต้แนวคิดธนาคารความดี

Main Article Content

พระราชวรมุนี (พล อาภากโร)
พระมหาประยูร โชติวโร

Abstract

         การศึกษาเรื่องรูปแบบและเครือข่ายการเสริมสร้างความดีภายใต้แนวคิดธนาคารความดี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเสริมสร้างความดีภายใต้แนวคิดธนาคารความดี อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาผลการเสริมสร้างความดีภายใต้แนวคิดธนาคารความดี อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบ และเครือข่ายการเสริมสร้างความดีของชุมชน ภายใต้แนวคิดธนาคารความดี อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน กล่าวคือมีการใช้แบบสอบถามเชิงสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานและความสำเร็จของการดำเนินงาน ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายและครบถ้วนกับการวิเคราะห์ผลการศึกษา

         ผลการศึกษาพบว่าประการที่หนึ่งเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประการไปด้วย 4 เครือข่ายที่สำคัญคือผู้นำชุมชน, สมาชิกในชุมชน, กลุ่มอาสาสมัครภายในชุมชน เช่น กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุและภาคการเรียนรู้เชิงประชาสังคมทั้งภายในและภายนอกชุมชน ประการที่สองคือรูปแบบการเสริมสร้างความดีมีทั้งสิ้น 4 รูปแบบได้แก่ พัฒนากิจกรรมและความร่วมมือภายในชุมชน, ใช้หลักการพัฒนาชุมชนเชิงพุทธเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมระหว่างบ้าน/วัด/โรงเรียน, ขยายบทบาทการทำงานให้ทั่วถึงทุกกลุ่มเครือข่ายการทำงานในชุมชนและสร้างความร่วมมือกับชุมชนและองค์กรทางสังคมภายใน ประการที่สามคือการเชื่อมโยงหลักธรรมกับการดำเนินงานของธนาคารความดี มีทั้งสิ้น 3 หลักธรรมที่สำคัญได้แก่การดำเนินงานจะเน้นให้ความสำคัญกับหลักการอิทธิบาท 4 มุ่งเน้นให้เห็นความพากเพียรและความสม่ำเสมอในการทำงาน การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาโครงการ สามารถเชื่อมโยงได้กับหลักอปริหานิยธรรม 7 อันแสดงให้เห็นถึงความให้ความสำคัญต่อผู้ประสบการณ์ อีกทั้งยังให้เกียรติแก่สมาชิกที่ทำงานร่วมกันอีกด้วย ซึ่งส่งผลอย่างสำคัญต่อผลการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดพละ 4 กล่าวคือเป็นการเสริมพลังให้กับการทำงานในชุมชนมีความสามัคคีและอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขมากยิ่งขึ้น

       Study of patterns and processes of creating goodness community under the concept of Goodness Bank has objectives including 1) to study into the process in creating Goodness under the concept of Goodness Bank in Phan district, Chiang Rai province, northern of Thailand, 2) to study and analyze a result of creating goodness under Goodness Bank concept in Phan district, Chiang Rai province, northern of Thailand, 3) to study pattern and network of creating goodness in community in Phan district, Chiang Rai province, northern of Thailand. This study is an applying research with using exploratory questionnaire and In-depth interview, with participant observation, in order for receive information variously and completely.

      This research was found as follows; first, networks participating to develop management of Goodness bank are including community leaders, community members, community volunteer development groups and civil society learning groups. Second, the pattern of goodness creating has four types such as developing activities and participation in community, applying Buddhist community principle link with groups of school, temple and community, expanding working role to every community volunteer development groups and making participation to community and social organization inside Huangom sub-district. Third, Dharmic principle which can apply for Goodness bank process are basic for success, conditions of welfare and power.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biographies

พระราชวรมุนี (พล อาภากโร)

Vice-Rector for Student Affairs and Lecturer Dr. in Faculty of Humanities, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระมหาประยูร โชติวโร

Director of Students Affairs Division, Mahachulalongkornrajavidyalaya University.