การเดินทางเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของพ่อค้าชาวเอเชียตะวันตก

Main Article Content

วันวิสาข์ ธรรมานนท์

Abstract

บทคัดย่อ

               การเดินทางเข้ามาซีกโลกฝั่งตะวันออกของพ่อค้าชาวเอเชียตะวันตก เริ่มขึ้นจากการมีสัมพันธภาพทางการค้ากับจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น (ประมาณ 100 ปีก่อนคริสตกาล) เส้นทางการเดินทางในระยะแรกเป็นการเดินทางทางบกที่เรียกกันว่าเส้นทางสายไหม หลังจากนั้นจึงใช้เส้นทางทางทะเล โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่จีน อย่างไรก็ดี ในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 7 พ่อค้าชาวเอเชียตะวันตกยังไม่ได้เดินทางผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อไปถึงจีน พวกเขาหยุดอยู่เพียงเมืองท่าและสถานีการค้าของอินเดียและศรีลังกาเท่านั้น จนกระทั่งในราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมา หลักฐานทางเอกสารและหลักฐานทางโบราณคดีจึงปรากฏชัดเจนว่าพ่อค้าชาวเอเชียตะวันตกเดินทางเข้ามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้ติดต่อกับชาวพื้นเมืองอย่างแท้จริง

 

Abstract

               The beginning of contact to the eastern region of Western Asian traders is a commercial interacting with China during the Han Dynasty, ca.1st- 2nd century CE. Initially, the trade routes were overland routes known as “Silk Route”, the maritime trade routes were gradually developed. However, before the 7th century CE. the Western Asian traders did not come directly to Southeast Asia. They only did business at the port and entrepots of India and Sri Lanka. The ancient documents and archaeological evidences obviously reveal that since the 7th century CE. the Western Asian traders had been directly contacted with the local people in Southeast Asia.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ