การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่องความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเจี้ยนหัว

Main Article Content

สิริลักษณ์ พงศ์พฤฒิชัย

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  วิชาคอมพิวเตอร์  เรื่องความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 ให้มีประสิทธิภาพ   2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน วิชาคอมพิวเตอร์  เรื่องความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ที่เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ  วิชาคอมพิวเตอร์  เรื่องความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  4) ศึกษาความคงทนในการจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ   วิชาคอมพิวเตอร์  เรื่องความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

               กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ของโรงเรียนเจี้ยนหัว ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2555  จำนวน  40  คน  ซึ่งได้จากการโดยการสุ่มอย่างง่าย ( Simple  Random  Sampling )  มาจำนวน 1 ห้องเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ  2 ด้าน  2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคอมพิวเตอร์เรื่องความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบ t – test 

            ผลการวิจัยพบว่า 

               1)  ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ   เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  เท่ากับ 80.99/81.66 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด   80/80 

               2)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

               3)  ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1อยู่ในระดับมาก (= 4.18 , S.D. = 0.39 )

               4) ความคงทนในการจำ ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ร่วมกับการเรียน แบบร่วมมือ  เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 หลังจากเรียนแล้ว 2 สัปดาห์ผลคะแนนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  แสดงว่านักเรียนมีความคงทนในการจำจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ  วิชาคอมพิวเตอร์  เรื่องความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

 

Abstract

               The purposes of this research were to : 1) develop a computer-assisted instruction on basic of information technology lesson for Mathayomsuksa 1 students to be effective.  2) compare the learning achievement of pre-learning and post-learning of on basic of information technology lesson for Mathayomsuksa 1 students who learn on the computer-assisted instruction with cooperative learning activities. 3) study the satisfaction of the students who learn on the computer-assisted instruction on basic of information technology lesson for Mathayomsuksa 1 with cooperative learning activities. And 4) study the endurance of the students’ memories of the computer-assisted instruction on basic of information technology lesson for Mathayomsuksa 1 with cooperative learning activities. 

               The sample used in this study are students studying in Mathayomsuksa 1 of Jian Hua School, Bang Luang, Amphoe Bang Len, Nakhon Pathom, in the 2nd semester of the academic year 2012. There were 40 students with the Simple Random Sampling method, in a classroom that is a group of randomization.

               The researchs instruments were 1) a structured interview to interview experts. 2) a learning plan of a computer-assisted instruction on basic of information technology lesson for Mathayomsuksa 1 with cooperative learning activities.  3) computer-assisted instruction on basic of information technology. 4) a learning-achievement test on the basics of information technology. 5) a questionnaire for satisfaction of students of a computer-assisted instruction.

               The analysis of average data with Standard deviation and the t – test, the results showed as follows.

               1) The effectiveness of computer-assisted instruction on basic of information technology lesson for Mathayomsuksa 1 was  E1/E2 = 80.99/81.66. 

               2) The learning achievement of computer-assisted instruction on basic of information technology lesson pre-learning was higher than post-learning at .01 level of significant.

               3) The satisfaction of the students towards learning with computer-assisted instruction on basic of information technology lesson  for  Mathayomsuksa 1 students was at a high level.   (= 4.18, SD = 0.39).

               4) The endurance of memories of students who learn through computer-assisted instruction on  basics of information technology lesson for Mathayomsuksa 1  after two weeks was not different statistically significant at the .05. The level indicates that the students’ memories of the study of computer-assisted instruction on basic of information technology lesson for Mathayomsuksa 1  with learning cooperative activities. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ