การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บแบบผสมผสานเรื่องการจัดแสงการถ่ายภาพในสตูดิโอ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกัน

Main Article Content

อายุธ ยิ่งขวัญเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาบทเรียนผ่านเว็บแบบผสมผสานเรื่องการจัดแสงการถ่ายภาพในสตูดิโอให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันที่เรียนด้วยบทเรียนผ่านเว็บแบบผสมผสานเรื่องการจัดแสงการถ่ายภาพในสตูดิโอ 3)เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติด้านการจัดแสงการถ่ายภาพในสตูดิโอของนักศึกษาหลังเรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานเรื่องการจัดแสงการถ่ายภาพในสตูดิโอให้อยู่ในเกณฑ์ดี และ4)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนแบบผสมผสานเรื่องการจัดแสงการถ่ายภาพในสตูดิโอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาปริญญาตรีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โปรแกรมวิชาศิลปกรรม วิชาเอกดิจิตอลอาร์ต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐมที่ลงทะเบียนรายวิชาถ่ายภาพปีการศึกษา 2555

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1)แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2)แผนการเรียนรู้บนเว็บแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะด้านการถ่ายภาพในสตูดิโอ 3)แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาถ่ายภาพ เรื่อง การถ่ายภาพในสตูดิโอ 4)แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนรู้ผ่านบทเรียนผ่านเว็บแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะด้านการถ่ายภาพในสตูดิโอ 5)แบบวัดทักษะด้านการปฏิบัติการถ่ายภาพในสตูดิโอ 6)แบบทดสอบบุคลิกภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ t-test dependent ,T-test independent

               ผลการวิจัยพบว่า  1.ผลการหาประสิทธิภาพของสื่อมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86/80.76 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้  2.ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนได้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3.ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่บุคลิกภาพเก็บตัวและแสดงตัว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4.ผลการปฏิบัติการจัดแสงสำหรับการถ่ายภาพในสตูดิโอของกลุ่มทดลอง อยู่ในเกณฑ์ดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  5.ผลการสำรวจความคิดเห็นในทุกด้านอยู่ใน ระดับดี  = 3.94 และ SD.= 0.14

Abstract

               The objectives of this research study were to 1)develop blending web-based lessons on studio photography lighting according to the threshold set at 80/ 80, 2) to compare the learning achievement of undergraduate students with different personalities by using the blending web-based lessons, 3) to develop students' practicing skill in studio photography lighting for achieving 'good' result at the post-learning stage by using the blending lessons, and 4) to study the feedback in the blending lessons mentioned above. Sample group for this research is a group of undergraduate students in faculty of humanities and social sciences, fine and applied arts program, majoring in digital arts, Nakhon Pathom Rajabhat University, who have enrolled in photography subject in academic year of 2012.

               Tools used in this research consist of: 1.constructional interview form 2.blending web-based learning plan for studio photography skill development 3.learning achievement form about studio photography for photography subject 4.questionnaires about learning via blending web-based lessons to develop studio photography skill 5.skill assessment form on studio photography practicing and 6.personality test. Data analysis uses t-test dependent, T-test independent, One group T-test statistics and average, standard deviation and percent values.

               Results were as follows:  1.the result for media effectiveness evaluation is 86/80.76 which conforms to the threshold set  2.the result of learning achievement comparison at the post-learning stage is higher than the average value of the pre-learning stage with statistical significance at the 0.05 level 3.the learning achievement comparison result of the experimental group with different personality traits between extraversion and introversion has different learning achievement without statistical significance at the 0.05 level 4.the result in studio photography lighting practice of the experimental group is 'good' with statistical significance at the 0.05 level and 5.the result of feedback for all aspects is 'good' with average value at 3.94 and standard deviation value at 0.14

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ