ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาคุณธรรมผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

Main Article Content

บุญพริษฐ์ เหลืองอุ่มพล
สุเทพ ลิ่มอรุณ

Abstract

บทคัดย่อ 

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา 2) การพัฒนาคุณธรรมผู้เรียน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาคุณธรรมผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 338 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.951 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า

1.    บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจาณาแยกเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเป็นแบบอย่าง อยู่ในอันดับสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาครู ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน และด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้  ตามลำดับ

2.    การพัฒนาคุณธรรมผู้เรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจาณาแยกเป็นรายด้านพบว่า ความสะอาด อยู่ในอันดับสูงสุด รองลงมาคือ ความสามัคคี ความมีน้ำใจ และความประหยัด ตามลำดับ

3.    บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม มีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพผู้เรียน และด้านที่มีความสัมพันธ์ในระดับสูง ได้แก่ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ด้านการบริหารจัดการ ด้านการพัฒนาครู และด้านการเป็นแบบอย่าง ตามลำดับ

Abstract

          The purposes of this research were to: : 1) the administration behaviors, 2) the community participation in schools, and 3) the administration behaviors of school administrators  affecting community  participation in schools under Phetchaburi Primary Education Service Area Office 2. The research instrument was a 5-rating scale questionnaire with the reliability at 0.897. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient.

The results of the research were as follows:

1.    Administration behaviors of school administrators, as a whole and each aspect were at a high level. Considering in each aspect: the controlling was at highest level, followed by the leadership, and communication was at the lowest level.

2.    Community participation in schools, as a whole and each aspect were at a high level. Considering in each aspect : the participation in the initiative was at the highest level, followed by the plan, and evaluation was at the lowest level.

3.    The six administration behaviors of school administrators affecting community participation in schools were: control, decision making, motivation, communication, goal setting, leadership, the multiple correlation coefficient was 0.769 and predictive efficiency was 59.10 percent with statistical significance at the 0.01 level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

บุญพริษฐ์ เหลืองอุ่มพล

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี