การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคนิค KWC กับแนวคิดการสร้างพลังการเรียนรู้

Main Article Content

ศศิชา ทรัพย์ล้น

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับระยะทางและความสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคนิค KWC กับแนวคิดการสร้างพลังการเรียนรู้  2) ประเมินทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เรื่องโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับระยะทางและความสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  ที่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคนิค KWC กับแนวคิดการสร้างพลังการเรียนรู้ 3) ประเมินพลังการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  ที่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคนิค KWC กับแนวคิดการสร้างพลังการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคนิค KWC กับแนวคิดการสร้างพลังการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต  สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดกาญจนบุรี  จำนวน 35 คน ที่ได้จากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple  Random  Sampling)  โดยทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ แบบประเมินพลังการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ(%)  ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)  การทดสอบค่าที (t - test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่าผลการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับระยะทางและความสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  ที่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคนิค KWC กับแนวคิดการสร้างพลังการเรียนรู้  หลังจัดการเรียนรู้สูงกว่าผลการเรียนรู้ก่อนจัดการเรียนรู้  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เรื่องโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับระยะทางและความสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  ที่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคนิค KWC กับแนวคิดการสร้างพลังการเรียนรู้ อยู่ในระดับสูงทุกด้าน พลังการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับระยะทางและความสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  ที่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคนิค 

KWC กับแนวคิดการสร้างพลังการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง และนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเทคนิค KWC กับแนวคิดการสร้างพลังการเรียนรู้  โดยภาพรวมนักเรียนเห็นด้วยในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า  ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม นักเรียนเห็นด้วยในระดับมากเป็นลำดับที่ 1  รองลงมาได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ เป็นลำดับสุดท้าย

Abstract

               The purposes of this research were 1) to compare learning outcomes on mathematics problem solving in distance and height of the tenth grade students taught by integration of KWC technique and empowerment approach, 2) to evaluate mathematical process skills of students taught by integration of KWC technique and empowerment approach, 3) to evaluate empowerment of students taught by integration of KWC technique and empowerment approach, and 4) to study the students’ opinions toward integration of KWC technique and empowerment approach. The samples of this research were 35 tenth grade students of Somdejprapiyamaharajrommaneeyakhet school, Bureau of special education administration, Kanchanaburi province in the first semester of the academic year 2012. The research instruments were lesson plans, learning outcomes test, mathematical process skills evaluation form, empowerment evaluation form, and questionares. The data were analyzed by percentage (%), mean (),  standard deviation (S.D.),   t-test dependent and content analysis.

               The results of this research were as follow : The students’ learning outcomes of the tenth grade students on mathematics problem solving in distance and height taught by integration of KWC technique and empowerment approach after the instruction were statistically at the .01 level higher than before the instruction. The mathematical skills of the tenth grade students taught by integration of KWC technique and empowerment approach were at a high level. The learning empowerment  of the tenth grade students taught by integration of KWC technique and empowerment approach were at a high level. The students’ opinions toward integration of KWC technique and empowerment approach were at a high agreement level in all aspects such as the learning usefulness, the  learning activities and the learning environment respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ