การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความและคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษกที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

Main Article Content

อดิศร ขาวสะอาด

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยใช้เทคนิค STAD และ 2) ศึกษาคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยใช้เทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก จำนวน 27 คน ใช้เวลา 12 คาบ (คาบละ 50 นาที) จำนวน 4 สัปดาห์ๆละ 3 คาบ

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านจับใจความ และ  (3) แบบวัดคุณลักษณะจิตสาธารณะ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ

               ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยพื้นฐาน (ท22102) เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            คุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ที่มีเนื้อหาส่งเสริมคุณลักษณะเรื่อง จิตสาธารณะ นักเรียนมีคุณลักษณะด้านจิตสาธารณะสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

            The purposes of this research were 1) to study the Eight grade students’ learning achievement by STAD cooperative learning method, and 2) to study students’ opinions about the public mind by  STAD  cooperative learning method. The samples were Eight grade students of Nuannorradit Wittayakom Rachamungkalaphisek school, Bangkok province. The 27 students of experimental group were taught by the STAD cooperative learning method for 12 

periods 50 minute each, covering 4 weeks, during the second semester within the academic year 2012. The experimental group met the teacher 3 periods per week. 

               The instruments employed to collect data were 1) lesson plans constructed a reading for main ideas of ‘the STAD’ technique 2) an achievement test of critical reading, and (3) the evaluation form of Eight grade students’ public mild. The collected data were analyzed by the statistical means of mean (), standard deviation (S.D.), t-test dependent.

               The findings were as follows:

               1)  The students' posttest reading for main ideas comprehension scores ,after learning by the STAD techniques, were significantly higher than that of the pretest at the significant level of 0.05.

            2)         The students' opinions about the public mind, after learning by the STAD techniques, were significantly higher than before learning by the STAD techniques at the significant level of 0.05.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ