ปัจจัยที่ส่งเสริมการแสดงมารยาทไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

รุ่งฤทัย จตุรภุชพรพงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับ การแสดงมารยาทไทย ความรู้เกี่ยวกับมารยาทไทย การอบรมสั่งสอนจากครอบครัว การอบรมสั่งสอนจากโรงเรียน การได้รับอิทธิพลจากสื่อและการได้รับอิทธิพลจากเพื่อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เปรียบเทียบมารยาทไทยของนักเรียนมัธยมปลาย ตามเพศ แผนการเรียน ลักษณะทางครอบครัว ลักษณะอาชีพของพ่อและของแม่ และโอกาสการพูดคุยกับพ่อแม่ 3) ความรู้เกี่ยวกับมารยาทไทย การอบรมสั่งสอนจากครอบครัว การอบรมสั่งสอนจากโรงเรียน การได้รับอิทธิพลจากสื่อ และการได้รับอิทธิพลจากเพื่อน เป็นตัวแปรในการทำนายมารยาทไทยของนักเรียนมัธยมปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีจำนวน 331 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ ผลการวิจัย 1. ความรู้เกี่ยวกับมารยาทไทย การอบรมสั่งสอนครอบครัว และการอบรมสั่งสอนจากโรงเรียนอยู่ในระดับมาก การได้รับอิทธิพลจากสื่อและการได้รับอิทธิพลจากเพื่อนอยู่ในระดับปานกลาง 2. นักเรียนที่มีเพศ และโอกาสการพูดคุยกับพ่อแม่ต่างกัน มีมารยาทต่างกัน นอกนั้นไม่พบความแตกต่าง 3. ครอบครัว เพื่อน และความรู้เกี่ยวกับมารยาทไทย สามารถร่วมกันทำนายการแสดงมารยาทไทยได้ ร้อยละ 31.60 

 

Abstract

            The purposes  were 1) to study the levels of  Thai etiquettes, knowledge, upbringing , education, media and friends of students; 2) to compare Thai etiquettes of students as classified by sex, program of study, family type, parents’ occupation and opportunity of talking with their parents, 3) to study that knowledge , upbringing, education, media and friends as the predictors in expressing Thai etiquettes of students.  Samples were 331 high school students, derived by multi-stage sampling.  Instruments were questionnaires. Analyzed for %, X ,  S.D, One – Way ANOVA and stepwise multiple regression analysis. The results were: 1. Knowledge, upbringing and education were at high level while  media and friends were at a moderate level.  2. Thai etiquettes as classified by program of study, family type and parents’ occupation were not statistically different while sex and opportunity of talking with parents were significantly different. 3. Upbringing, friends and knowledge predicted Thai etiquettes of high school students.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ