ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด

Main Article Content

สุภาวดี ทองบุญส่ง

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการ ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล แรงจูงใจในการทำงาน เจตคติต่อการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน กับความสุขในการทำงาน และหาน้ำหนักความสำคัญแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากร สำนักงานอัยการสูงสุด จำนวน 375 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างบุคคล แบบสอบถามแรงจูงใจในการทำงาน แบบสอบถาม เจตคติต่อการทำงาน แบบสอบถามสภาพแวดล้อมในการทำงาน และแบบสอบถามความสุขในการทำงานซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.973 ,0.942 , 0.982 , 0.983 และ 0.902 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

               ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

               1.  ปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล แรงจูงใจในการทำงาน เจตคติต่อการทำงาน สภาพแวดล้อม             ในการทำงานกับความสุขในการทำงาน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01                               โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.816 ปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ร่วมกันอธิบายความแปรปรวน                        ของความสุขในการทำงาน ได้ร้อยละ 66.700

            2.          ปัจจัยด้านเจตคติต่อการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานส่งผลทางบวกต่อความสุข ในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ส่งผลทางบวกต่อความสุขในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน ไม่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน โดยที่เจตคติต่อการทำงาน ส่งผลทางบวกต่อความสุขในการทำงานมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน สัมพันธภาพระหว่างบุคคล มีค่าน้ำหนักความสำคัญในรูปคะแนนมาตรฐาน เท่ากับ 0.624 ,0.177  และ 0.070 ตามลำดับ

 

Abstract

               The purposes of this research were to study the relationship between some factors relationship between the parties, work Motivation, work attitude, work environment and work happiness and to study the beta weight of factors contributed to work happiness. The sample comprised 375 people office of The Attorney General which was selected by using two – stage random sampling. The instruments used in the research were question relationship between the parties, work Motivation, work attitude, work environment, work happiness. The reliability of questionnaires were 0.973 ,0.942 , 0.982 , 0.983 and 0.902 respectively. The data were analyzed by using multiple correlation and multiple regression.

               The results of the research were as follows:

               1.  The multiple correlation coefficient between relationship between the parties, work motivation, work attitude, work environment had related work happiness were 0.816 which statistically significant at .01 level. All factors explained variance of work happiness at 66.700 percentage.

               2.  Work attitude, work environment, were positive contributed to work happiness statistically significant at .01 level. Relationship between the parties were positive contributed to work happiness statistically significant at .05 level. Work motivation did not contributed to work happiness. The beta weight of work attitude, work environment and relationship between the parties of which contributed to the work happiness were equaled 0.624 ,0.177  and 0.070 respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ