พฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ขนิษฐา ใจเย็น

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำ ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำ การอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำจากครอบครัว การให้การศึกษาอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำจากโรงเรียนและการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำของนักเรียน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำกับหน่วยงานภายนอก อาชีพของผู้ปกครอง ลักษณะการตั้งบ้านเรือน สถานที่ตั้งของโรงเรียน เขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่ และขนาดของโรงเรียน 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำ การอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำจากครอบครัว การให้การศึกษาอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำจากโรงเรียน และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำ จำนวน 256 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มใช้การทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว หากพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทำการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe') วิเคราะห์ตัวแปรต้นที่สามารถทำนายตัวแปรตามใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า

               1.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำในระดับสูง การอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำจากครอบครัว การให้การศึกษาอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำจากโรงเรียน อยู่ในระดับมาก ส่วนการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำและพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำ อยู่ในระดับปานกลาง

               2.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม ที่มีสถานที่ตั้งของโรงเรียน เขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่ และขนาดของโรงเรียนต่างกัน มีพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรอื่น ไม่แตกต่าง

3.          การให้การศึกษาอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำจากโรงเรียน การอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำจากครอบครัว และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม ได้ร้อยละ 24.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

 

Abstract

               The purpose of this research was to study 1) the 9th grade students’ level of river conservation behavior, knowledge of river conservation, cultivating river conservation from family, educating about river conservation from school, and acquisition of river conservation information 2) to compare 9th grade students’ river conservation behavior as classified by academic achievement, participation in river conservation activities with external sector, parents’ occupation, settlement of  resident, school location, local government’s administrative district of school location, and school size. 3) to determine knowledge of river conservation, cultivating river conservation from family, educating about river conservation from school, and acquisition of river conservation information as the predictors of 9th grade students’ river conservation behavior. Samples were 256 ninth grade students in the schools near thachin river derived by stratified random sampling technique. Instruments used to collect data were questionnaires constructed by the researcher. Data were analyzed for percentage, mean, standard deviation, t - test, One – way ANOVA and the Stepwise multiple regression analysis.

               The results found that:

               1) 9th grade students’ knowledge of river conservation, cultivating river conservation from family, and educating about river conservation from school were at the high level, while acquisition of river conservation information and river conservation behavior were at the moderate level.

               2) 9th grade students’ level of river conservation behavior as classified by school location, local government’s administrative district of school location, and school size were significantly different at a .05 level. Whereas, academic achievement, participation in river conservation activities with external sector, parents’ occupation, settlement of resident were not significantly different.

               3) Educating about river conservation from school, cultivating river conservation from family, and acquisition of river conservation information predicted the 9th grade students’ river conservation behavior at the percentage of 24.5 with statistical significance of .001.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ