การศึกษาลักษณะโครงสร้างของกระดูกสันอกในประชากรไทยเพื่อใช้ในการระบุเพศ

Main Article Content

พนมไพร ไสนะรา

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาค่าความเชื่อมั่นในการระบุเพศ จากการศึกษาความแตกต่างของขนาดโครงสร้างของกระดูกสันอกระหว่างเพศหญิงและเพศชายในประชากรโดยทำการศึกษา กระดูกสันอกจากร่างอาจารย์ใหญ่ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งหมด 30 ชิ้นในช่วงอายุระหว่าง 20 - 80 ปี กำหนดการวัดหาระยะทั้งหมด 8 ตำแหน่งโดยขณะทำการวัดจะยังไม่ทราบเพศของกระดูกนี้มาก่อน ภายหลังสืบค้นประวัติ พบว่าเป็นเพศชาย 15 ชิ้น และเป็นเพศหญิง 15 ชิ้น ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS โดยใช้ t-test และการวิเคราะห์จำแนก (Discriminant analysis)

            จากการศึกษาเปรียบเทียบค่าความแตกต่างของตัวแปรในกระดูกสันอก (Sternum) และขนาดพื้นที่ทั้งหมด ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ของการวัดกระดูกสันอกในเพศชายจะมีค่าสูงกว่าเพศหญิง โดยตำแหน่งส่วนมากมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 โดยตำแหน่งที่ใช้ในการแยกเพศได้ดีที่สุดคือ ตำแหน่ง ความกว้างของกระดูกสันอก ที่วัดจากมุมระหว่างกระดูกอ่อนซี่โครงซี่ที่ 2 และ 3 Corpus sterni width at first sternebra (CSWs1) ให้ค่าความน่าเชื่อถือสูงถึง 86.7%ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย โดยค่าเฉลี่ยพื้นที่รวมของกระดูกสันอกในเพศชายมีขนาดใหญ่กว่าเพศหญิง คือ เพศชาย 5872.71 ตารางมิลลิเมตร และเพศหญิง 4721.09 ตารางมิลลิเมตร จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากระดูกสันอกสามารถใช้ในการแยกเพศได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำมาวิเคราะห์คดีในกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ต่อไป

 

Abstract

           The main objective of this research was to determine the reliability of sex identification.  From the study of sternum morphology between female and male in Thai population. Thirty sternums of cadavers ages ranging from 20 – 80 years old were used in this study. Eight measurements were determined with unknown bone sex. Each bone was verified later and found that 15 males and 15 females. T-test and discriminant analysis was required to transform the variables measurement with SPSS programs. P value less than 0.05 was considered significant difference. Corpus sterni width at first sternebra (CSWs1) was the most accuracy percent values for sex identification at 86.7% of reliability in both sexes. The average area of sternum in male was larger than female at 5872.71 mm2 and 4721.09 mm2, respectively. This result showed that sternum can be used for sex determination in forensic identifications and useful for forensic cases in the future.

Article Details

Section
บทความ