การตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวด้านสารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรณีศึกษาเฟซบุ๊ก

Main Article Content

ผุสดี ดอกพรม

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวด้านสารสนเทศในการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรณีศึกษาเฟซบุ๊ก โดยศึกษาการตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวด้านสารสนเทศ รูปแบบการใช้งาน ข้อมูลที่เปิดเผย การจำกัดการมองเห็นและกลยุทธ์ความเป็นส่วนตัวด้านสารสนเทศที่ใช้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสำรวจ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากการแจกแบบสอบถามจำนวน  329 ชุด แบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมา จำนวน 288 ชุด คิดเป็นร้อยละ 87.54  ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างเปิดเผยมากที่สุดคือข้อมูลสถาบันการศึกษา ข้อมูลวันเดือนปีเกิด และความสนใจ โดยข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการพิจารณาเพิ่มเพื่อนหรือยอมรับคำร้องขอเพิ่มเป็นเพื่อน นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างตระหนักถึงความเป็นส่วนตัวด้านสารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ในระดับมาก โดยเฉพาะประเด็นการมองเห็นข้อมูลจากผู้ไม่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้กลยุทธ์การส่งข้อความส่วนตัวแทนการโพสต์บนไทม์ไลน์เพื่อไม่ให้บุคคลที่ไม่ประสงค์เห็นข้อมูล อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยตระหนักถึงนโยบายความเป็นส่วนตัวและการใช้ข้อมูลของเฟซบุ๊ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นการนำข้อมูลส่วนตัวและพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กไปใช้ประโยชน์ทางการตลาด

 

Abstract

This study investigates an awareness of information privacy on online social networking sites of undergraduate students in the Faculty of Arts, Silpakorn University by exploring  the uses of Facebook, information disclosure, information visibility as well as privacy protection strategies that students employed. This study employs quantitative research using questionnaire as research tool for data collection; 288 survey responses giving a response rate of 87.54. The results indicate that information that most respondents reveal on Facebook are information about their school/university, date of birth and their interests. The study reveals that respondents use this information for theirs friend practices i.e. sending and accepting friend requests. The results of this study also illustrate that most of respondents are aware of information privacy, particularly the visibility of their information to unwanted audience. Most of respondents employ private messaging as a mean to communicate with their Facebook friends.However, respondents are not too well aware of Facebook’s privacy policy and the term of use, particularly the use of their personal information and online behavior for commercial purposes.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ