การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้แหล่งเรียนรู้โบราณคดีหนองราชวัตร จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์

Main Article Content

เอกนฤน บางท่าไม้
สิริธร บุญประเสริฐ
นรภัทร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้แหล่งเรียนรู้โบราณคดีหนองราชวัตร จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้แหล่งเรียนรู้โบราณคดีหนองราชวัตร จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์  3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้แหล่งเรียนรู้โบราณคดีหนองราชวัตร จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการจัดกิจกรรมคือ นักเรียนโรงเรียนบ้านมาบพะยอม  จำนวน  36  คน  

ผลการวิจัยพบว่า

1. แหล่งเรียนรู้แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร เดิมเป็นเนินดินสูงจากพื้นที่รอบๆ ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ 5 บ้านหนองเปล้า ตำบลหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์  สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินใหม่  มีอายุราว 3,500 – 4,000 ปี โดยในการจัดแสดงที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนหนองราชวัตร  มีการนำวัตถุโบราณที่ค้นพบบางส่วน มาจัดแสดงไว้

2. แนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ร่วมกับกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยใช้แหล่งเรียนรู้โบราณคดีหนองราชวัตร จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ คือ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้กับแหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร รวมทั้งส่งต่อไปยังหน่วยงานหรือสถาบันต่างๆ ในชุมชนที่มีความต้องการสื่อการเรียนรู้ชุดนี้ และจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์

3.  ผลการประเมินการใช้สื่อการเรียนรู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้แหล่งเรียนรู้โบราณคดีหนองราชวัตร เพื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ผลการทดลองใช้สรุปได้ดังนี้

          1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(ทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มีค่าเท่ากับ  88.10/87.65  ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80

          2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ  0.8100 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 81.00   และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

           3.  ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

ABSTRACT

The purposes of this research were 1) to examine basic information of the development of learning media with community participation by using an archeological learning resource of Nongratchawant, Suphanburi province to encourage creative learning; 2) to present a procedure of the development of learning media with community participation by using an archeological learning resource of Nongratchawant, Suphanburi province to encourage creative learning; and 3) to examine the experimental results of the development of learning media with community participation by using an archeological learning resource of Nongratchawant, Suphanburi province to encourage creative learning. The sample, used in learning activities, was comprised of 36 students in Baanmabphayom School.

The results of the research were as follows:

1. An archeological learning resource of Nongratchawant, which was an ancient mound located in Moo 5 Baannongplao, Nongratchawat subdistrict, Nongyasai district, Suphanburi province, is a historical crucial place at the Prehistoric Period in New Stone Age between 4,000 to 3,500 years ago. There are also some archeological objects found to be exhibited at Nongratchawat community learning center.   

2. A procedure of the development of learning media with community participation by using an archeological learning resource of Nongratchawant, Suphanburi province to encourage creative learning is the development of learning media for an archeological learning resource of Nongratchawant. Besides, it can be allocated to different departments or organizations in the community which needs this learning media package and holds a creative activity. 

3. The results of the evaluation of using learning media with community participation for creative learning activities by using an archeological learning resource of Nongratchawant to encourage creative learning were as follows:

1. The efficiency score of the learning media package in Art Learning Substance Group (Visual Arts) for Prathomsuksa 6 was 88.10/87.65. Consequently, the efficiency score of the learning media package was higher than the expected criterion (80/80).

2. The efficiency index of the learning media package in Art Learning Substance Group (Visual Arts) for Prathomsuksa 6 was 0.8100. This revealed that the learning progression of the students was 81.00 percent and there was a statistically significant difference from the comparison of the difference of learning achievement before and after studying through the learning media package at level 0.01.  

3. The satisfaction of Prathomsuksa 6 students toward the learning media package in Art Learning Substance Group (Visual Arts) was the highest positive.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ