ปัญหาและความต้องการพัฒนาการประกอบอาชีพปลูกผัก ของเกษตรกร ตำบลบึงบอน อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

จุฬาลักษณ์ ทิวกระโทก

Abstract

บทคัดย่อ

                 การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการประกอบอาชีพปลูกผักและความต้องการพัฒนาการประกอบอาชีพปลูกผักของเกษตรกรตำบลบึงบอน อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง 180 ครัวเรือน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.97 ปี สมรสแล้ว จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการประกอบ เฉลี่ย 19.12 ปี มีรายได้จากการประกอบอาชีพปลูกผักเฉลี่ยต่อเดือน  12,372.22 บาท  รายได้ที่คาดหวังเฉลี่ยต่อเดือน 23,700 บาท  ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของที่ดินเองมีที่ดินเฉลี่ย 7.76 ไร่ต่อครัวเรือน  ปัญหาการประกอบอาชีพ 1) ด้านการผลิต ปัญหาที่พบมากที่สุด ได้แก่ หน้าดินถูกทำลาย  ปัญหาแมลงศัตรูพืชหนอนใยผัก  ปัญหาโรคพืชใบจุด ปัญหาวัชพืชหญ้าขน  ปัญหาการการดื้อยาของแมลงและโรคพืช   ปัญหาสารเคมีและปุ๋ยเคมีราคาแพง  ปัญหาการขอรับรองมาตรฐานไม่ทราบขั้นตอนการขอรับรอง ปัญหาคุณภาพผลผลิตผลผลิตเสียหายจากโรคและแมลง  2) ด้านความรู้และเทคโนโลยี ปัญหาที่พบมากที่สุด ได้แก่ การไม่ได้รับข่าวสารทางและการเผยแพร่ความรู้จากเจ้าหน้าที่  ขาดความรู้เรื่องการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช  3) ด้านระบบตลาด ปัญหาที่พบมากที่สุด ได้แก่ การขายส่งพ่อค้าคนกลาง ไม่สามารถต่อรองราคาได้  การกำหนดราคาขายได้รับราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต  ผู้บริโภคต้องการผักที่มีความสวยงาม 4) ด้านสังคมและการรวมกลุ่ม ปัญหาที่พบมากที่สุดได้แก่ รายได้จากการประกอบอาชีพปลูกผักต่ำกว่าการประกอบอาชีพอื่น  มีการรวมกลุ่มแต่ไม่สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้จริง

                   ความต้องการพัฒนาการประกอบอาชีพปลูกผักพบว่า 1) ด้านการผลิต ต้องการปรับปรุงดิน ต้องการพัฒนาการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช ต้องการเก็บเมล็ดพันธุ์เอง ต้องการให้มีการควบคุมราคาและคุณภาพปุ๋ย  ต้องการแก้ปัญหาแรงงานในครัวเรือนไม่เพียงพอ ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยจัดหาทุน  และต้องการแก้ปัญหาผลผลิตต่อไร่อยู่ในระดับต่ำ  2) ด้านความรู้และเทคโนโลยี ต้องการให้มีการส่งข่าวสารความรู้ทางการเกษตรและต้องการความรู้เรื่องการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 3) ด้านระบบตลาดต้องการให้พัฒนาช่องทางตลาดให้มากขึ้น 4) ด้านสังคมและการรวมกลุ่ม ต้องการให้มีการพัฒนาการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจการต่อรองราคาขายผลผลิต

Abstract

            The objectives of this research were to study problems and needs in occupational development of vegetable growing farmers in Tumbon Buangbon, Amphoe Nongsuea, Pathum Thani Province. There were 180 representatives of households, collected by questionnaires and analyzed by frequency, percentage, mean standard deviation.

            The results found that  majority of farmers was male, average age  49.97 years  old, married, education in primary, average experience in an occupation  19.12 years, average income 12,372.22 baht  per month, average income expectation  23,700 baht per month. The most people own land average 7.76 rai per households. The most problems of growing vegetables were soil destruction, moth, leaf spot disease, buffalo grass, drug resistance of pest, expensive chemical fertilizers and substances and pesticides, unknown steps to certification, lost products from disease and insect. The most problems of knowledge and technology were lack of agriculture news and knowledge, lack of knowledge for prevention and displace pest. The most problems of market ware wholesale middlemen unable to bargain price and income below cost of production. The most problems of social and aggregation was income from occupational vegetable growing below others, group unable to act on objective.

            Needs for problems of growing vegetables were to develop soil, develop prevention and displace pest, save the seeds, control the price and quality of fertilizer, solve labor shortage, develop productivity, including need state agency to provide funding. Needs for problems of knowledge and technology were to receive agriculture news and knowledge for prevention and displace pest development. Needs for problems of market was to increase marketing channel. Needs for problems of social and aggregation was to develop aggregation to power assess for product.

 

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

จุฬาลักษณ์ ทิวกระโทก

นิสิตปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตกำแพงแสน