การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

Main Article Content

มารุต พัฒผล

Abstract

บทคัดย่อ

 

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในเขตอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 2) เสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในเขตอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 3) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในเขตอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 4) ตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้           ของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในเขตอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

              ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย เป็นครูใหญ่และครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในเขตอำเภอ          ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่  โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฮงเค็ลไทย โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวัดสุธาสินี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านต้นมะม่วง และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่น้ำน้อย แบ่งเป็นครูใหญ่จำนวน 4 คน และครูจำนวน 31 คน

              ผลการวิจัยพบว่า          

                  1. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั้ง 4 โรงเรียน เปิดทำการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รับเข้าเรียนทั้งเด็กไทย และเด็กต่างชาติ การจัดครูเข้าสอน                ในแต่ละระดับชั้นใช้รูปแบบครูประจำชั้น การจัดการเรียนการสอนมุ่งพัฒนาผู้เรียนด้านการอ่านออก          เขียนได้ และด้านคณิตศาสตร์ โรงเรียนไม่มีศึกษานิเทศก์หรือบุคลากรที่ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการให้กับครู การจัดการศึกษาแบบบูรณาการสอดคล้องกับสี่เสาหลักทางการศึกษา ได้แก่ การเรียนเพื่อรู้ การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น

                  2.  ภายหลังการดำเนินการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ    การโค้ชการรู้คิด การประเมินผลการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการคิดเป็นร้อยละ 86.27 ด้านการโค้ชเพื่อการรู้คิด คิดเป็นร้อยละ 84.47 ด้านการประเมินที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 89.60 และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 81.13 และโดยภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 85.40       

                  3.  รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในเขตอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นรูปแบบการพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานภายใต้แนวคิดการพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ และการโค้ช ประกอบด้วย           1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการเสริมสร้างศักยภาพ การจัดการเรียนรู้ 4) การประเมินผล 5) บทบาทครูใหญ่ 6) บทบาทครู 7) บทบาทผู้ดำเนินการพัฒนา 8) ปัจจัยสนับสนุนด้านครูใหญ่ 9) ปัจจัยสนับสนุนด้านครู 10) ปัจจัยสนับสนุนด้านสื่อ 11) ปัจจัยสนับสนุนด้านการจัดการ

                  4.  รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในเขตอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีความสอดคล้องกับสภาพบริบทการจัดการศึกษาของโรงเรียน และสามารถนำไปขยายผลในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแห่งอื่นได้ โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยผลการประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเฉลี่ย                   อยู่ในระดับมากที่สุด

 

Abstract

               The objectives of this research were to 1) study the educational context of Border Patrol Police school in Saiyok, Kanchanaburi province 2) enhance the learning management potential of Border Patrol Police school’s teachers in Saiyok, Kanchanaburi province 3) develop a model for enhance learning management potential of Border Patrol Police school’s teachers in Saiyok, Kanchanaburi province 4) verify a model for enhance learning management potential of Border Patrol Police school’s teachers in Saiyok, Kanchanaburi province

              The participate of this research compose of the 4 principles and 31 teachers of Border Patrol Police school’s teachers in Saiyok, Kanchanaburi province. There were Hengklethai school, Watsuthasinee school, Bantonmamoung school, and Banmeanumnoi school.

              The results showed that:

                  1.  All of           Border Patrol Police schools provide educational service for Thai children and foreigner between elementary grade to primary grade 6. The aims of educational service focus on reading, writing, arithmetic, ethical, and life skills, that based on the 4 pillars of education, there are learning to know, learning to be, leaning to do, learning to live together. Without supervisor or mentor and coach in school.    

                  2.  After enhance the learning management potential of Border Patrol Police school’s teachers in Saiyok, Kanchanaburi province, they have knowledge and comprehension about 1) integrated learning management (86.27%), 2) cognitive coaching (84.47%), 3) assessment for enhancing cognition and happiness in learning (89.60%), and 4) classroom action research (81.13%), overall (85.40%).

                  3.  A model for enhance learning management potential of Border Patrol Police school’s teachers in Saiyok, Kanchanaburi province based on the concept of school based development,  professional learning community, and coaching. The factor of model are 1) rationales 2) objectives 3) procedure 4) evaluation 5) principle roles          6) teacher roles 7) developer roles 8) supporting factors of principle 9) supporting factors of teacher 10) supporting factors of media 11) supporting factor of management

                  4.  A model for enhance learning management potential of Border Patrol Police school’s teachers in Saiyok, Kanchanaburi province have efficiency in very high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

มารุต พัฒผล, Graduate School of Srinakharinwirot University Bangkok

Graduate School of Srinakharinwirot University
Bangkok