การใช้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

บุหลัน กุลวิจิตร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการใช้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สารสนเทศ ปัญหาการใช้สารสนเทศ และเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะอักษรศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร จำแนกตามชั้นปี และสาขาวิชาที่เรียนประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2-4 คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2556  จำนวน 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ F-test

ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรส่วนใหญ่มีการใช้สารสนเทศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  มีวัตถุประสงค์การใช้สารสนเทศเพื่อความบันเทิง/พักผ่อนหย่อนใจมากที่สุด รองลงมาคือเพื่อทำรายงาน  ด้านความทันสมัยของสารสนเทศมีการใช้สารสนเทศที่มีอายุการผลิตตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปแต่ไม่เกิน 1 ปีมากที่สุด รองลงมาคือสารสนเทศที่มีอายุการผลิตน้อยกว่า 6 เดือน  ด้านทรัพยากรสารสนเทศมีการใช้สื่อตีพิมพ์ที่เป็นหนังสือ/ตำรามากที่สุด  รองลงมาคือพจนานุกรม  สื่อไม่ตีพิมพ์ มีการใช้วีดิทัศน์มากที่สุด รองลงมาคือ  ซีดี-รอม เพื่อความบันเทิง  และภาพถ่าย สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด รองลงมาคือฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับ ด้านเครื่องมือที่ใช้เข้าถึงสารสนเทศมีการใช้เครื่องมือที่ใช้เข้าถึงสารสนเทศโดย Search engine เช่น google มากที่สุด รองลงมามีการเข้าถึงสารสนเทศโดยการเดินค้นหาด้วยตนเองตามชั้นหนังสือ  ด้านแหล่งสารสนเทศมีการใช้แหล่งสารสนเทศประเภทสถาบัน โดยใช้สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากรมากที่สุดรองลงมามีการใช้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยภายในประเทศ  แหล่งสารสนเทศประเภทบุคคลมีการใช้แหล่งสารสนเทศบุคคลที่เป็นอาจารย์ผู้สอนมากที่สุด รองลงมาคือเพื่อน แหล่งสารสนเทศประเภทสื่อมวลชนมีการใช้รายการโทรทัศน์มากที่สุด รองลงมาคือวิทยุ ส่วนแหล่งสารสนเทศประเภทอินเทอร์เน็ตมีการใช้เว็บไซต์มหาวิทยาลัยศิลปากรมากที่สุด รองลงมาคือเว็บไซต์สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร 

ปัญหาการใช้สารสนเทศของนักศึกษา พบว่าด้านผู้ใช้มีปัญหาคือนักศึกษาขาดความรู้และทักษะในการสืบค้นรายการบรรณานุกรมออนไลน์ (OPAC) และนักศึกษาไม่ทราบว่ามีแหล่งสารสนเทศใดบ้างที่ให้ข้อมูลได้ตรงความต้องการมากที่สุด  รองลงมาคือนักศึกษาขาดความรู้และทักษะในการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์  ด้านแหล่งสารสนเทศสถาบันมีปัญหาการใช้สารสนเทศ ได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศไม่เพียงพอมากที่สุด รองลงมาคือ  แหล่งสารสนเทศไม่มีสารสนเทศที่ต้องการ แหล่งสารสนเทศบุคคลมีปัญหาการใช้สารสนเทศคือแหล่งสารสนเทศบุคคลมีเวลาจำกัดในการให้ข้อมูลมากที่สุด  รองลงมาคือใช้ศัพท์เทคนิคทางวิชาการทำให้ไม่เข้าใจ  แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชนมีปัญหาการใช้คือสารสนเทศที่นำเสนอไม่มีความเป็นกลางมากที่สุด แหล่งสารสนเทศอินเทอร์เน็ตมีปัญหาคือระบบเครือข่ายช้าทำให้ดาวน์โหลดข้อมูลไม่ได้เป็นปัญหามากที่สุด รองลงมาคือ ข้อมูลในเว็บไซต์บางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดปัญหาในการอ้างอิง

ผลการทดสอบความแตกต่างของการใช้สารสนเทศของนักศึกษาจำแนกตามชั้นปี และสาขาวิชาพบว่า นักศึกษาที่มีชั้นปีต่างกันมีการใช้สารสนเทศแตกต่างกัน พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มีระดับการใช้สารสนเทศภาพรวม  ทรัพยากรสารสนเทศ และเครื่องมือที่ใช้ในการเข้าถึงสารสนเทศมากกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 2  ส่วนนักศึกษาที่มีสาขาวิชาต่างกัน พบว่า นักศึกษาสาขาเอเชียตะวันออกมีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศมากกว่านักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย และนักศึกษาสาขาวิชาเอเชียศึกษามีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศมากกว่านักศึกษาสาขาวิชาภาษาเอเชียตะวันออก

Abstract

This research entitled “Information Use  of Undergraduates,Faculty of Arts, SilpakornUniversity”aims to 1) study the students’ informationuse 2) study their problems of informationuse and 3)compare information use  of undergraduates,faculty of Arts, Silpakorn Universityby year and field of study. The population is the 321undergraduates of the Faculty of Arts, Silpakorn University. The research tools are the questionnaire. The research data were analyzed from the tests given to the 321 sample group. The statistic analysis used descriptive statistics: percentage, mean and F-test.

The results showed that information use  of undergraduates,Faculty of Arts, Silpakorn Universityincluded in the medium.The purpose of the application of entertainment / recreation as possible. The second is to make a report. To-date information about And to engage in learning, respectively. The modernization of the information with the use of information between the production from 6 months to less than 1 year at the most, followed by the information age of less than 6 months.Information resources in the use of the Printedbooks / textbooks as possible, followed by the dictionary.Non–Printed Medias with the use of video, most, followed by the CD-ROM for entertainment and photos with the use of electronic media, most electronic books, followed by an online database holdings. The tools to access information using tools to access information by search engine like google most minor has access to information by walking to manually search the bookshelves. The sources of information are used to institutional sources. The central library of SilpakornUniversity, followed by the use of local libraries.Individual sources of information, the use case is most instructors, followed by a sources of media with the use of television, followed by the radio. The sources of the Internet is the most SilpakornUniversity website, followed by the central library of SilpakornUniversity website. 

The problems with information using are as follows:the information of the user, the problem is lack of knowledge and skills to students searched online bibliography (OPAC) and students do not know what sources to meet their information needs, followed by the students' lack of knowledge and skills in the online database. The sources of information include institutions have inadequate resources most, followed by the information sources without information they need. Individual sources of information is a source of information individuals have a limited time to provide the most, followed by the use of technical jargon is not understood. Media sources have problems using information presented is not the most neutral. Sources of information, the Internet is a network slow download is not the most problems, followed by information on some of the changes cause problems in a reference.

The test, the difference in the application of the students by year and field of study that students with class differences in the application of different shows that students and 3rd year students at four levels. Use case overview information resources and the tools used to access information over the second year students, students with different majors have found that east asian languages students are using resources more students practical thailand and students of asian studies, the use of information than students of east asian languages.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

บุหลัน กุลวิจิตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร