การวิเคราะห์อภิมานความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของหัวหน้าที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานของลูกน้อง

Main Article Content

กันยพัชร์ จินายง

Abstract

บทคัดย่อ

                  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของหัวหน้าที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานของลูกน้องโดยใช้วิธีวิเคราะห์อภิมาน กลุ่มตัวอย่าง คือ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ รวมถึงงานวิจัยของหน่วยงานต่างๆ ในระหว่างปี พ.ศ. 2542-2556   จากการสืบค้นได้จากฐานข้อมูลออนไลน์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 33 เรื่อง แบ่งเป็นงานวิจัยจากในประเทศ จำนวน 15 เรื่อง และจากต่างประเทศ จำนวน 18 เรื่อง โดยมีค่าขนาดอิทธิพลรวมทั้งสิ้น  138 ค่า

                  จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของหัวหน้ากับพฤติกรรมการทำงานของลูกน้องในกลุ่มรวม มีค่าขนาดอิทธิพล เท่ากับ 0.58  และพบค่าเฉลี่ยของขนาดอิทธิพลสูงสุดในงานวิจัยที่ศึกษากลุ่มตัวอย่างเพศชาย (ค่าเฉลี่ยของขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.60)  ส่วนงานวิจัยที่ศึกษากลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาต่ำเป็นกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยของค่าขนาดอิทธิพลน้อยที่สุด (ค่าเฉลี่ยของขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.20) ในส่วนส่วนท้ายของบทความมีการให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติและการวิจัยในอนาคตด้วย

ABSTRACT

                The research aims to investigate the relationship between supervisory social support, and work behaviors and also finding out their mediating variables in terms of biosocial background of samples, using meta-analysis approach. The samples in this study were theses dissertations and research studies completed and published during the year 2542 to 2556, with the online database. The studies from domestic and foreign were selected which turned out to be only 33 studies. Of these numbers, there were studies from Thailand 15 studies and studies from abroad 18 studies. The total number of effect size using in this study was 138.

            According to the results from the analysis, it was found that the effect size between supervisory social support and work behavior in total sample was 0.58. The highest effect size of 0.60 was found between these two variables in samples with male. The lowest effect size of 0.20 was found between these two variables in samples with low education. Implications and suggestions were included. In the end of the article is to provide recommendations for future practice and research

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

กันยพัชร์ จินายง

นักศึกษา /ผู้ช่วยนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์