พันธมิตรมะนิลา-วอชิงตันใน “ทศวรรษที่สูญหาย” (1991-2001): การหวนคืนของพันธมิตรก่อนเหตุวินาศกรรม 9/11

Main Article Content

ฑภิพร สุพร

Abstract

บทคัดย่อ

นับตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพันธมิตรทางทหารระหว่างฟิลิปปินส์-สหรัฐฯก็ถูกครอบงำด้วยชุดคำอธิบายกระแสหลักที่ชี้ว่า ภายหลังจากการถอนกองกำลังสหรัฐฯออกจากฐานทัพฟิลิปปินส์ ความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกนิยามว่าเป็น “ความสัมพันธ์พิเศษ” ก็ตกต่ำลง ก่อนที่จะฟื้นคืนอีกครั้งภายหลังจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน บทความนี้เล็งเห็นปัญหาของยึดเอาเหตุการณ์ 9/11 เป็นหมุดหมายของการรื้อฟื้นพันธมิตรว่าเป็นการมองข้ามพัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรทั้งสองในช่วงระหว่างปี 1991-2001 ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็น “ทศวรรษที่สูญหาย” ของการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสายสัมพันธ์ทางความมั่นคงระหว่างฟิลิปปินส์และสหรัฐฯ บทความนี้มุ่งศึกษาการรื้อฟื้นพันธมิตรระหว่างฟิลิปปินส์-สหรัฐฯในช่วงทศวรรษที่สูญหายผ่านการประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องพันธมิตรทางทหารของ Stephen Walt เพื่อเสนอว่า ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการฟื้นตัวของพันธมิตรคือ การเผชิญกับภัยคุกคามจากจีนในกรณีพิพาททะเลจีนใต้ในช่วงทศวรรษที่ 1990 ซึ่งส่งผลให้ฟิลิปปินส์และสหรัฐฯร่วมมือกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากจีนตามทฤษฎีเรื่องการถ่วงดุลเพื่อต่อต้านภัยคุกคาม ดังปรากฏให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมผ่านการลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการเยือนระหว่างกองกำลังในปี 1995 ซึ่งถือเป็นข้อตกลงที่สะท้อนให้เห็นการรื้อฟื้นพันธมิตรมะนิลา-วอชิงตันซึ่งเกิดขึ้นก่อนเหตุวินาศกรรม 9/11 

Abstract

Since the end of the Cold War, the research on the Philippine- US military alliance has been overshadowed by mainstream narratives which argue that since the withdrawal of U.S. troops from the bases in the Philippines, the once-strong alliance, described as “special relationship”, has been essentially moribund before the revival of the alliance after the September 11 attacks. Nonetheless, this article argues that taking the 9/11 attacks as a cornerstone while ignoring the crucial development of Philippine-U.S. relations in 1991-2001, defined as “the Lost Decade” in Philippine-U.S. security studies, is deeply problematic. This article explores the revitalization of Philippine-U.S. alliance in the “lost decade” by embracing the notion of military alliance, initiated by Stephen Walt, as a conceptual framework. It argues that the factor leading to the revitalization of the alliance is China threat in the South China Sea disputes in the 1990s, paving the way for both countries to ally themselves against their perceived threat of China, according to balance against threat theory. Facing a growing threat posed by China, the alliance eventually concluded the Visiting Forces Agreement in 1995, resulting in the revival of Manila- Washington alliance which clearly happened before the 9/11 incidents.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

ฑภิพร สุพร, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย