การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ทิพย์รัตน์ มังกรทอง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้  แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จ. ฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 ที่ได้มาโดยการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  เรื่อง ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต และแบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยาก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Sample และเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยากับเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) แบบ One Sample

ผลการวิจัย พบว่าพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยาหลังเรียนอยู่ในเกณฑ์ระดับดีขึ้นไป (3.50 จากคะแนนรวม 5 คะแนน)

Abstract

          The purpose of this  research is the learned behavior for biology the 10th Grade Students using the inquiry cycle (5E) learning method and the cooperative learning with STAD technique. The sample for this work consisted of 50 students of 10th Grade Students at Benchamaracharungsarit School in Chachoengsao chosen by a cluster random sampling methrod. The experiment is conducted in the first semester of the 2012 academic year. The instruments for this study are the inquiry cycle (5E) learning method and the cooperative learning with STAD technique for 10th Grade Students planning for the equilibrium of life and the behavior observation form. The data is analyzed by comparing different learning biology of behavior before and after using the t-test dependent samples and comparison of learning biology with the criterion using the t-test one sample.

            The results show that the learning behavior with the inquiry cycle (5E) learning method and the cooperative learning with STAD technique is higher than before with the statistical significance at .05 as well as the learned behavior is at the better level. (3.5 out of 5 rating points)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

ทิพย์รัตน์ มังกรทอง

faculty of education, Burapha university