บทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดไทยในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

Main Article Content

พินิจ บุญเลิศ
อุทัย เลาหวิเชียร
จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์
สุวรรณี แสงมหาชัย

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดไทยในการบริหารการเปลี่ยนแปลง และ 2) สังเคราะห์บทบาทที่เหมาะสมของผู้ว่าราชการจังหวัดไทยในการบริหารการเปลี่ยนแปลง การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด จำนวน 12 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จำนวน 36 คน  การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึก

ผลการวิจัยพบว่า

1.    บทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดไทยในนำการบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ (1) ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำหนดว่าอะไรเป็นแนวโน้มหรือความต้องการของจังหวัด โดยให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางการกำหนดวิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลง (2) สร้างกลไกการประสานงานตามยุทธศาสตร์จังหวัด โดยมีขอบข่ายการพัฒนาในหลายมิติตั้งแต่ระดับชาติ  ระดับภูมิภาค  จนถึงระดับท้องถิ่นที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (3) สร้างทีมการจัดทำวิสัยทัศน์ อาศัยนวัตกรรมบนฐานความรู้สมัยใหม่ รวมถึงสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาพื้นที่ และ (4) สร้างค่านิยมการบริหารการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานตามหลักการบริหารจัดการที่ดีและความรับผิดชอบต่อประชาชนส่วนร่วม

2.    ข้อค้นพบจากการวิจัย แนวทางที่เหมาะสมของผู้ว่าราชการจังหวัดไทยในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ (1) บทบาทการบริหารการเปลี่ยนแปลงตามหลักการบริหารจัดการที่ดี (2) บทบาทอำนวยความสะดวกส่งเสริมสนับสนุนภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร การเปลี่ยนแปลงกับจังหวัด เพื่อพัฒนาจังหวัดที่ยั่งยืนและตรงกับอัตลักษณ์ของพื้นที่ (3) บทบาทการสื่อสาร วิสัยทัศน์ ผลักดันแผนยุทธศาสตร์ตอบสนอง ความต้องการพลเมืองหรือมุ่งรับใช้ประชาชน  ในฐานะความเป็นพลเมืองไม่ใช่ลูกค้า และ (4) บทบาทในการสร้างค่านิยมร่วมกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ บุคลากร และเทคโนโลยี  มาสนับสนุนการบริหารจัดการ  เพื่อส่งมอบการบริการสาธารณะที่สามารถตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

Abstract

In this dissertation, there searcher investigates 1) the role of Thai provincial governor in change management, and 2) synthesize the appropriate role of Thai provincial governor in change management. In carrying out this qualitative research investigation, the researcher collected data on the basis of a case study of 12 governor and 36 stakeholders from public sector, private sector, and civil society. The data were drawn from relevant documents and the results of having conducted in-depth interviews.

Findings are as follows:

1.    The role of Thai provincial governor for change management were as follows: (1) governor decision the trend or desire of province which vision for change management was made by people was center; (2) establish a mechanisms to coordination the strategic province by scope of development of multidimensional from national to provincial level and local level, focusing on the participation of all sectors; (3) preparation of vision, innovation the knowledge of modern living, including the creation of sustainable development in the area; and (4) established value of change management based on the principles of  good governance and responsibility for public participation.

2.    Findings regarding appropriate guidelines used in the role of Thai provincial governor in change management were as follows: (1) role change management from good governance; (2) role the facilitate to promote from public sector, private sector, and civil society of participate change management of province for the cooperation of all sectors, for the provincial sustainable development and identity area; (3) role the communicate vision of strategic plans to share purpose to the needs citizen or service the public as citizen non-customers; and (4) role the creating shared values change culture of the organization, personnel, and administrative support technology for the deliver public services to respond to stakeholders.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

พินิจ บุญเลิศ

Degree of doctor of philosophy (Public administration), Ramkhamhaeng University