การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหา ความรู้ (5E) ด้วยสื่อประสม เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

เสาวลักษณ์ หล้าสิงห์

Abstract

บทคัดย่อ

                  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ด้วยสื่อประสม เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 48 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบ cluster random sampling เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาโดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยสื่อประสม เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และแบบสอบถามวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Sample

             ผลการวิจัยพบว่า

            1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยสื่อประสม เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            2. เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยสื่อประสม เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 อยู่ในระดับมาก

 

Abstract

              The purposes of this research were to study learning achievement and attitude towards science by using inquiry(5E) method with multimedia on the nervous system and sense organs for 11th grade students. The samples for this research consisted of 48 students from Benchamaracharungsarit school, Chachoengsao province. The simple random sampling method was used inselecting an experiment group. The research instruments were the lesson plans in the topic of  nervous system and sense organs, science achievement test and attitude towards science test. The data were analyzed by comparing the difference of an achievement scores and attitude towards science scores pretest and posttest using dependent sample t-test and comparing the difference of an achievement and attitude towards science with the criterion using one sample t-test.

                  The research results of this study were :

  1. The posttest science learning achievement of 11th grade students after using using inquiry(5E) method with multimedia on the nervous system and sense organs was significantly higher than the pretest at .05 level.

      2. The posttest attitude towards science of 11th grade students after using          using inquiry (5E) method with multimedia on the nervous system and            sense organs was significantly higher than the pretest and a defined                criteria was level 4.03 at .05 level.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

เสาวลักษณ์ หล้าสิงห์

นิสิตปริญญาโท/มหาวิทยาลัยบูรพา