แนวทางส่งเสริมความรู้แบบมีส่วนร่วมเรื่องการลดการใช้สารเคมี การลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ตามหลักการเกษตรพอเพียงแก่เกษตรกร ตำบลหน้าโคก อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

สุภาสิณี นุ่มเนียม

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการรับความรู้ด้านการลดการใช้สารเคมี การลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ทางการเกษตรตามหลักการเกษตรพอเพียงของเกษตรกรตำบลหน้าโคก อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  2) ศึกษาแนวทางส่งเสริมความรู้แบบมีส่วนร่วมเรื่องการลดการใช้สารเคมี การลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ตามหลักการเกษตรพอเพียงแก่เกษตรกร ขององค์การบริหารส่วนตำบลหน้าโคก อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและพหุภาคี  เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง คือ ตัวแทนครัวเรือนเกษตรกรตำบลหน้าโคกที่ประกอบอาชีพเพาะปลูกจำนวน 86 คน  มีการรวบรวมและวิเคราะห์มูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  

ผลการวิจัย สรุปได้ว่า แนวทางส่งเสริมความรู้แบบมีส่วนร่วม เรื่องการลดการใช้สารเคมี การลดรายจ่ายและการเพิ่มรายได้ตามหลักการเกษตรพอเพียงของเกษตรกรตำบลหน้าโคก อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วยแนวทางส่งเสริมความรู้ที่คำนึงถึงส่วนประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านเนื้อหาความรู้ด้านการลดการใช้สารเคมี การลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ตามหลักการเกษตรพอเพียงที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร ด้านเนื้อหาความรู้การลดการใช้สารเคมี ลำดับแรกต้นๆ ได้แก่ การป้องกัน/กำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสานและชีววิธี ความรับผิดชอบที่เกษตรกรควรมีต่อผู้บริโภค และการตรวจสอบคุณภาพดินก่อนการใส่ปุ๋ย ส่วนด้านเนื้อหาความรู้การลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ที่ควรส่งเสริมความรู้ในลำดับต้นๆ ได้แก่ ความรู้ทางการตลาดเกษตรเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน การผลิตพลังงานทดแทนใช้ในครัวเรือน เช่น แก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ และเรื่องเทคนิคและเทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิต 2) ด้านรูปแบบการส่งเสริมความรู้แบบมีส่วนร่วม  พบว่าการมีส่วนร่วมต้องกระทำควบคู่กันไป 2 รูปแบบ คือ (1) การมีส่วนร่วมที่มีองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าโคกกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี การเกษตรตำบลหน้าโคกเป็นแกนกลางในการประสานงาน และ (2) การมีส่วนร่วมที่มีองค์การบริหารส่วนตำบลหน้าโคกเป็นแกนกลางในการประสานงาน และ 3) ด้านวิธีการส่งเสริมความรู้ที่สอดคล้องกับความ
ต้องการบริบทของเกษตรกรตำบลหน้าโคก
พบว่า วิธีการส่งเสริมความรู้ที่ได้จากการประชุมระดมความคิด พบว่า มี 3 แนวทาง ได้แก่ การส่งเสริมความรู้แก่เกษตรกรโดยรวม การส่งเสริมความรู้โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามประเภทของพืชที่ปลูก ตามลักษณะความเป็นเจ้าของพื้นที่เพาะปลูก และตามขนาดพื้นที่เพาะปลูก และการส่งเสริมความรู้แบบจัดตั้งหรือพัฒนาเกษตรกรต้นแบบแล้วขยายเครือข่าย โดยการจัดการส่งเสริมความรู้ตามแนวทางดังกล่าวสามารถนำวิธีการส่งเสริมความรู้ที่เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้ ด้านวิธีการจัดการเรียนรู้โดยการศึกษาดูงานหรือตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ รองลงมาคือการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ด้านการจัดการส่งเสริมความรู้เกษตรกรต้องการให้ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมผ่านช่องทางเสียงตามสาย  มีความถี่ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ปีละ 2 ครั้ง  โดยจัดครั้งละ 2 วัน  และวันที่ต้องการให้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ส่วนใหญ่ คือ วันหยุด ได้แก่ วันอาทิตย์ รองลงมาวันเสาร์

Abstract

            Research had two purposes. 1) To study the need of knowledge to reduce chemicals use, reduce expenses and increase revenue according to the sufficiency agriculture principle of farmers in NaKhok sub-district, PhakHai district, Ayutthaya province. 2) To find approaches of knowledge promoting participation in reduce chemicals use, reduce expenses and increase revenue according to the sufficiency agriculture principle to farmers by NaKhok sub district administrative organization and multilateral. The sample were selected using purposive sampling were representative growing plants household in NaKhok sub district 86 persons. With research methods and data analysis for the purposes of research is the use of quantitative and qualitative technique.

The findings were:

Approaches of knowledge promoting participation in reduce chemicals use, reduce expenses and increase revenue according to the sufficiency agriculture principle of farmers in NaKhok sub district, PhakHai district, Ayutthaya province include three components. 1) The content knowledge to reduce chemicals use, reduce expenses and increase revenue by agricultural sufficient to meet the needs of farmers. The three first order of reduce chemicals use knowledge content were prevent / eliminate pests by combining biological, farmers should have a responsibility to consumers, and monitoring the quality of the soil before fertilizing. The three first order of reduce expenses and increase revenues knowledge content were knowledge of the market to reduce the risk of investing in agriculture renewable energy, household biogas from manure, and technical and agricultural technology to reduce production costs. 2) The form of knowledge promoted participation. Found that the contribution must be made in parallel to two forms: (1) NaKhok sub district administrative organization and agriculture technology transfer and services center were core of coordination. (2) NaKhok sub district administrative organization was core of coordination, and 3) Methods of knowledge promotion from brainstorming found there were three ways. One promoted awareness among farmers as a whole. Two grouped by type of target crops based on the ownership of farmland and size of cultivated area. Three promote knowledge creation or development of master farmers and expand the network. Methods of learning first farmers want to apply the method of learning by study sample farmers succeed, second want to seminar to learn. Knowledge promotion ways farmers need to advertise the event by audio lines, The frequency of occupational knowledge was 2 times a year,  2 days a time, and days of activities to promote knowledge was holiday the first Sunday, followed by Saturday.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ
Author Biography

สุภาสิณี นุ่มเนียม

อาจารย์ ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน

คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์