การพัฒนาความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมนันทนาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

สุวิชชา รักษศรี

Abstract

 บทคัดย่อ   

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมของนักเรียน และผลของกิจกรรมนันทนาการที่มีต่อการพัฒนาความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียน ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในเขตพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน 8 โรงเรียน รวม 588 คน โดยทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนเครือข่ายที่นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมด้านขยะน้อยที่สุด จำนวน 1 โรงเรียน ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสระสี่มุม แล้วใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลากเลือกห้องเรียน 1 ห้อง ได้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้กิจกรรมนันทนาการพัฒนาความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมด้านขยะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมด้านขยะ และคู่มือกิจกรรมนันทนาการในการพัฒนาความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมด้านขยะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า นักเรียน 8 โรงเรียนส่วนใหญ่มีความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมด้านขยะโดยรวมอยู่ในเกณฑ์       ปานกลาง (µ =123.06, σ = 11.602) โดยมีนักเรียนที่มีความตระหนักอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง จำนวน 453 คน (ร้อยละ 77.04) และเกณฑ์สูงจำนวน 135 คน (ร้อยละ 22.96) ส่วนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมด้านขยะหลังการทดลองใช้กิจกรรมนันทนาการ ( =4.09, S.D. = 0.273) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองใช้กิจกรรมนันทนาการ ( =3.14, S.D. = 0.198) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Abstract

     The purposes of this research aimed to study the environmental awareness of waste for students and the effects of recreation activities to the development of environmental awareness for students. All 588 students from 8 elementary schools of students grade 5 network school teachers, Faculty of Education and Development Senices Kasetsart University Kamphaeng Saen campus in Kamphaeng Saen district, Nakhonpathom were represented as population. From the selection, student grade 5 ofWatSraSreMumSchoolwas showed the fewest of the environmental awareness of waste. From sample random sampling, 30 students of Grade 5/2 classroom were represented as random unit in the measurement test of the environmental awareness of waste and manual of recreational activities to develop environmental awareness for those students grade 5 were used as the research tools. Data analysed by frequency, percentage, mean and t-test. The results were shown with eight school students environmental awareness was moderate and the force moderately 453 students (77.04%) and force high 135 students (22.96%). After participating in recreational activities, development of environmental awareness through activities were higher ( = 4.09, S.D. = 0.273) than before ( = 3.14, S.D.= 0.198) which significantly different of statistic at 0.05 level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ