รูปแบบการบริหารข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคสู่ การเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม

Main Article Content

ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

                  วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อทราบองค์ประกอบของการบริหารข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคสู่การเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม 2. เพื่อทราบรูปแบบการบริหารข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคสู่การเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม 3. เพื่อเพื่อทราบผลการยืนยันรูปแบบการบริหารข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคสู่การเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่สมาชิกข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคจำนวน 20 แห่ง โดยมีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 304 คนประกอบด้วยผู้บริหาร บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(standard deviation) การวิเคราะห์องค์ประกอบ(Factor Analysis) การวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)

                  ผลการวิจัยพบว่า

                  1. องค์ประกอบของการบริหารข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคสู่การเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมมีอยู่ 8 องค์ประกอบได้แก่ 1) ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ 2) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ 4) บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ 5) การพัฒนาบุคลากร 6) วัฒนธรรมองค์การ 7) โครงสร้างองค์การที่เหมาะสม 8) ระบบการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม

                  2. รูปแบบการบริหารข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคสู่การเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมเป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์, วัฒนธรรมองค์การ และโครงสร้างองค์การที่เหมาะสม มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบระบบการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์, วัฒนธรรมองค์การ และโครงสร้างองค์การที่เหมาะสม บุคลากรที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาบุคลากรมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านวัฒนธรรมองค์การ และโครงสร้างองค์การที่เหมาะสม

                  3. ผลการยืนยันรูปแบบการบริหารข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค สู่การเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมพบว่า ผู้บริหารข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคแสดงความคิดเห็นและยืนยันรูปแบบการบริหารข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค สู่การเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมว่ามีความสัมพันธ์กัน มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้องและใช้ประโยชน์ได้จริงสอดคล้องกับทฤษฎีและกรอบแนวคิดการวิจัย

Abstract

                  The purpose of this research was to determine:

                  1) The administrative components of a provincial university library network for innovative organization,

                  2) The administrative model of a provincial university library network for innovative organization and

                  3) The results of the administrative model of a provincial university library network for innovative organization.

                  Samples were taken from 19 provincial university library networks. The total of 304 respondents included directors, librarians, and library staff. The instruments for collecting the data were semi-structural interviews and opinionnaires. The statistics for analyzing the data included frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis and path analysis.

                  The research results are as follows:

                  1. The administrative components for a provincial university library network for innovative organization are 1) effective leadership 2) an information technology and communication system 3) vision and strategic planning 4) effective human resources 5) human resource development 6) organizational structure 7) organizational culture and                      8) an innovative support system.

                  2. The model of administrative components for a provincial university library network for innovative organization demonstrates a correlation among these components: an information technology and communication system, vision and strategic planning, an organizational structure and an organizational culture that directly affects an innovative support system, while effective leadership, effective human resources and human resource development indirectly affect an innovative support system.

                  3. The result confirms the administrative model of a provincial university library network for innovative organization. Among the eight components of a model of provincial university library network for innovative organization are found: propriety, feasibility, accuracy, utility, accordance with relevant theories and research of conceptual frameworks.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ