พฤติกรรมการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมผ่านระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวคิดการเรียนรู้แบบนำตนเอง ของบุคลากรทางการศึกษา

Main Article Content

กชพร ดีการกล

Abstract

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นและความต้องการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวคิดการเรียนรู้แบบนำตนเองของบุคลากรทางการศึกษา 2) พัฒนาระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวคิดการเรียนรู้แบบนำตนเอง 3) ศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมและผลของการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมผ่านระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวคิดการเรียนรู้แบบนำตนเองของบุคลากรทางการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ แบ่งกลุ่มการวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ใช้ศึกษาความคิดเห็นและความต้องการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2557 จำนวน 35 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษา โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 29 คน และแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 9-10 คน ระยะเวลาการทดลอง 5 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นและความต้องการ 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 3) ระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) เว็บไซต์ 5) แบบประเมินตนเองด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 6) แบบประเมินพฤติกรรมการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 7) แบบสังเกตพฤติกรรม และ 8) แบบประเมินผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อย

ละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบสมมติฐานแบบที (t-test dependent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

               1)  ความคิดเห็นและความต้องการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 3.86, SD. = 0.82) และความพร้อมและความต้องการในการใช้เทคโนโลยี อยู่ในระดับมาก ( = 4.37, SD. = 0.78) ประเด็นที่ต้องการให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากที่สุดคือ การจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ คิดเป็นร้อยละ 74.29

               2)  องค์ประกอบของระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวคิดการเรียนรู้แบบนำตนเองประกอบด้วย ขั้นที่ 1 สร้างแรงจูงใจและเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 จัดทำแผนปฏิบัติงาน ขั้นที่ 3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ ขั้นที่ 4 สกัดความรู้และสร้างผลงาน และขั้นที่ 5 นำเสนอผลงานและการประเมินผล โดยใช้เว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ ผลการประเมินระบบจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสม

            3)   กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมหลังเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สูงกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าความแปรปรวนของทั้ง 3 กลุ่ม น้อยกว่า a = 0.05 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านพฤติกรรมการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมอยู่ในระดับมาก (  = 3.99, SD. = 0.74) การเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ภาพรวมอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 73.32 และกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมกิจกรรมการอ่านข้อมูลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.10

Abstract

            The purposes of this research were: 1) to study the current state, needs and opinions of educational personal concerning knowledge sharing, 2) to develop and a knowledge sharing via network model based on the self-directed learning, and 3) to study the communication behaviors and work of a knowledge sharing via network model based on the self-directed learning approach to create team learning. The research sample were : 1) 35 personnel to study the current state needs and opinions, 2) 29 educational personnel selected by purposive sampling method to study the communication behaviors and work of a knowledge sharing. They were divided into 3 groups, about 9-10 persons. They performed activities based on learning activity plan for 5 weeks. The research instruments consisted of : 1) a questionnaire, 2) a structured interview form, 3) a knowledge sharing via network model based on the self-directed learning, 4) a website, 5) The research instruments consisted of a team learning self-test, 6) a communication behaviors of a knowledge sharing via network model based on the self-directed learning approach to create team learning form, 7) an observation form, and 8) an 

observation. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, t-test dependent and One-Way ANOVA

               The research results indicated that:

               1)  The current state, needs and opinions of educational personal concerning knowledge sharing were at the high level ( = 3.86, SD. = 0.82). The readiness and needs technology were at the high level ( = 4.37, SD. = 0.78).  The issue which is needed the most to be shared is the quality for education 74.29%.

               2)  The 5 steps of knowledge sharing via network model based on the self-directed learning an element were: Step1 create learning motivation and preparation. Step2 identify learning goals. Step3 knowledge sharing and support learning data resource. Step4 collect and utilize data. Step5 presentation and evaluate learning achievement. Tools used a website and social network. Experts evaluation was appropriate in high level.

               3)  The samples’ self-posttest team learning scores gained from the knowledge sharing via network model were significantly higher than pretest team learning scores at the .05 level analysis of variances of 3 groups lower a = 0.05, the communication behaviors of a knowledge sharing via network to create team learning of the sample were at the high level ( = 3.99, SD. = 0.74), the observation behaviors were as the sample join to knowledge sharing were at the high level (73.32%), and the most read data from knowledge sharing were at the high level (93.10%).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ