การแบ่งภาพจิตรกรรมพระพุทธประวัติ ตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จากจิตรกรรมฝาผนังมาเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ผลงานของครูเหม เวชกร

Main Article Content

กัญญาพัชร บุญนาคค้า

Abstract

บทคัดย่อ

               พระพุทธประวัติถือเป็นเรื่องราวปรัมปราคติทางพระพุทธศาสนาเรื่องหนึ่ง ที่นิยมนำมาเขียนเป็นภาพจิตรกรรมทุกยุคทุกสมัย ดังนั้นรูปแบบการแสดงออกในงานจิตรกรรมเรื่องพระพุทธประวัติ ย่อมมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับยุคสมัยนั้นด้วย เช่น จากแต่ก่อนที่เขียนงานจิตรกรรมลงบนฝาผนังอุโบสถ สมุดข่อย และพระบฏ ก็พัฒนามาเป็นกระดาษหรือสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือสมุดภาพ ตำราเรียนสำหรับเยาวชนหรือบุคคลทั่วไป เป็นต้น ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6)ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 7)เป็นช่วงที่ประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างชาติมากขึ้น ทำให้ระบบการพิมพ์และความรู้ทางด้านเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ของไทยพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนมีผู้ริเริ่มนำภาพจิตรกรรมที่เป็นเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนามาจัดพิมพ์เพื่อจำหน่าย

            ผลงานจิตรกรรมเรื่องพระพุทธประวัติฉบับครูเหม เวชกร ถือเป็นอีกหนึ่งหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงทิศทางการปรับเปลี่ยนของภาพจิตรกรรรมไทย สังเกตได้จากเหตุการณ์สำคัญในเรื่องพระพุทธประวัติ เช่น ฉากผจญมาร-ชนะมาร และฉากเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หรือที่เรียกอีกอย่างว่าภาพไตรภูมิ ซึ่งถือเป็นภาพที่มีแบบแผนและรูปแบบการจัดองค์ประกอบภาพที่เขียนสืบทอดตามกันมาชัดเจน จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เรื่องรายละเอียดเล็กน้อย แต่องค์ประกอบโดยรวมมักใกล้เคียงกัน โดยในบทความนี้จะขอยกตัวอย่าง วิธีการแบ่งภาพเล่าเรื่องในฉากเหตุการณ์การเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาเป็นประเด็นในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อให้เห็นความแตกต่างและการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบภาพของฉากเหตุการณ์นี้ที่เปลี่ยนไปเมื่อเขียนลงบนสื่อ

สิ่งพิมพ์ ทั้งนี้สิ่งที่สะท้อนผ่านภาพงานจิตรกรรมเรื่องพระพุทธประวัติในฉากเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ฉบับของครูเหม ยังแสดงให้เห็นถึงความพยายามของช่างเขียนชาวไทยในยุคนั้น ที่พยายามหาจุดยืนอันเหมาะสมระหว่างเทคนิคการเขียนภาพแบบเป็นตะวันตกและการรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทย

คำสำคัญ : 1.จิตรกรรมไทย 2.พระพุทธประวัติ 3.รัชกาลที่ 6-7 4.เหม เวชกร

 

Abstract

            History of Buddha is one of the principle ancient story in Buddhism that transfer to painting of all times. Thereby the format of the painting in the history of Buddha naturally reform and develop the format to accommodate the period such as in the old days the mural painting on the ubosot wall, Thai long book made of pulp from trees and cloth turn into paper or printing media such as picture album and textbook for kids or people. In the period of Rama VI and Rama VII is the period that the communication of Thailand and foreigner were increased that cause the printing system and knowledge technology of printing in Thailand develop rapidly. Afterwards the creator brought the painting that relate in Buddhism to print and distribute the postcards.

               The painting work in history of Buddha by Hem Vejakorn is another important archaeological evidence that sagnify the adjustment direction of the painting. We can notice from the milestone of the Buddha history such as the scene that fighting Satan and win, coming down from Tavatimsa Heaven or called “Three worlds”, these are the incidents that become the painting of all times. These painting have the inherit traditional compose and may have only difference in some small details but generally all compose is similar. Which in this article we will give the example of the classification painting of the incident scene that is “Buddha coming down from Tavatimsa Heaven” to be analyze and compare about the differences and adjustment of the composition in this scene that changes when transform to be printing media. So that the painting in history of Buddha in the “Buddha coming down from Tavatimsa Heaven” scene of Hem Vejakorn gives the reflection about the attempt of the artist in that period, attempt to find the good combination of painting technical in Eastern style and remaining the Thai identity.

Keywords: 1.Thai painting 2. History of Buddha 3.Rama VI and Rama VII 4. Hem Vejakorn

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ