โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนวัตกรรมผลิตภัณฑ์

Main Article Content

นุจรี ภาคาสัตย์
ธีรัตม์ พิริยะพลิน

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยเชิงสาเหตุนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และประสิทธิผลการดำเนินงาน ผู้วิจัยดำเนินงานวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ  โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บความรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารในองค์การที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 656 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง

               ผลการวิจัยพบว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของผู้บริหารในองค์การที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ค่าสถิติไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 32.36 ที่องศาอิสระ  (df)  45 ค่า (p-value)  เท่ากับ 0.920  ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (c2/df) เท่ากับ  0.719 ดัชนีวัดค่าความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมบูรณ์  GFI  เท่ากับ 0.995 และค่า AGFI  มีค่าเท่ากับ 0.979 ค่า RMSEA มีค่าเท่ากับ  0.000  นอกจากนี้ผลงานวิจัยยังพบว่า (1) การมุ่งเน้นตลาดมีอิทธิพลเชิงบวกต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (2) วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลเชิงบวกต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (3) ความสามารถในกระบวนการจัดการความรู้มีอิทธิพลเชิงบวกต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (4) การมุ่งเน้นตลาดมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน (5) ความสามารถในกระบวนการจัดการความรู้มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน (6) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน  (7) การมุ่งเน้นตลาดมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์การ (8) ความสามารถในกระบวนการจัดการความรู้มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์การ ทั้งนี้ผลการยืนยันโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ว่ามีความสัมพันธ์กัน มีความเป็นไปได้ และความถูกต้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีและกรอบแนวคิดในการวิจัย

 

คำสำคัญ : นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ การมุ่งเน้นตลาด วัฒนธรรมองค์การ ความสามารถในกระบวนการจัดการความรู้ ประสิทธิผลการดำเนินงาน

 

Abstract 

               The objectives  of  this research were to find and validate a causal relationship model of product innovation indicated that the intention towards product innovation was a direct cause of organization effectiveness. The researchers used quantitative methods which involved empirical research. The research tool was a questionnaire to collect data from 656 executives of the company has been promoting investment. The statistics used in data analysis were frequency, mean, and structural equation model analysis.

               It was found that the model was consistent with the empirical data. Goodness of fit measures were found to be: Chi-Square (c2) is 32.36 at degree of freedom 45, P-value 0.920. Chi-Square relative (c2/df) is 0.719,  Goodness of Fit Index (GFI) is 0.995. Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) is 0.979 and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) is 0.000 It was also found that (1) market orientation had a positive and direct influence on product  innovation  (2) organization culture had a positive and direct influence on product innovation (3) knowledge management process capability had a positive and direct influence on product innovation (4) market orientation had a positive and direct influence on organization effectiveness  (5) knowledge management process capability had a positive and direct influence on organization effectiveness  (6) product innovation had a positive and direct influence on organization effectiveness  (7) market orientation had a correlations on organization culture and (8) knowledge management process capability had a correlations on organization culture. The result confirms  a causal relationship model of product innovation. Among five components of model of a causal relationship model of product innovation are found: propriety, accuracy, utility, accordance with relevant theories and research of conceptual frameworks.

 

Keywords :  Product innovation, Market orientation, Organizational culture, Knowledge management capability, Organizational performance

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ