การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด:กรณีศึกษา สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐมและจังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

นุชชา ดอกตาลยงค์

Abstract

บทคัดย่อ

               การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงการบริหารจัดการของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่เป็นแบบนำร่องและแบบเมตริกซ์และได้นำมาเปรียบเทียบลักษณะความเหมือนและความแตกต่างของทั้ง 2 รูปแบบ ตลอดจนได้มีการพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรค รวมไปถึงแนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการของทั้ง 2 แห่ง วิธีการศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตพฤติกรรม ผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากเอกสารและรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์รายบุคคลรวมทั้งสิ้น 17 คน        

            ผลการศึกษา พบว่า การเปรียบเทียบการบริหารจัดการ 4 ด้านของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด มีดังนี้ 1. ด้านการวางแผน สิ่งที่เหมือนกัน คือ ทั้ง 2 จังหวัดได้รับแผนในการปฏิบัติงานมาจากแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของทางกระทรวงยุติธรรมและแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดทำให้เกิดความคล้ายคลึงกันในด้านการวางแผนการทำงาน สิ่งที่มีความแตกต่างกัน คือ จำนวนงบประมาณที่ทั้ง 2 ที่ได้รับส่งผลโดยตรงกับโครงการตามแผนที่ได้กำหนดไว้, มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทำงาน รวมถึงค่านิยมร่วมมีความต่างกันขึ้นอยู่การพิจารณาของแต่ละสำนักงานยุติธรรมเพื่อทำให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ 2. ด้านการจัดการองค์กร เจ้าหน้าที่ทั้ง 2 แห่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับ สำนักงานยุติธรรมจะเป็นการจ้างแบบการจ้างเหมา และลูกจ้างชั่วคราว และมีการตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานยุติธรรมจังหวัดเพื่อควบคุม ดูแล การทำงานของ สำนักงานยุติธรรมสิ่งที่แตกต่างกัน คือ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐมเป็นแบบนำร่องจึงมีข้าราชการมาประจำเป็นหัวหน้างานในแต่ละฝ่าย ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก สำนักงานยุติธรรมจังหวัดสมุทรสงครามหัวหน้าของแต่ละฝ่ายจะเป็นเจ้าหน้าที่หมุนเวียน, และคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐมจะมีหน้าที่คล้ายกับพี่เลี้ยงที่คอยดูแลแนะนำการทำงาน ส่วนของ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดสมุทรสงครามจะเป็นคณะกรรมการที่มีอำนาจในการควบคุม ดูแล และดำเนินงานทั้งหมดของสำนักงานยุติธรรม 3. ด้านการควบคุม สิ่งที่เหมือนกัน คือ สำนักงานยุติธรรมทั้ง 2 จังหวัดได้มีการรับสมัครบุคลากรที่ทางสำนักงานฯต้องการด้วยตัวของ

สำนักงานฯเอง สิ่งที่แตกต่างกัน คือ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐมจะมีตัวชี้วัดดำเนินงานทั้งหมดของสำนักงานยุติธรรม 3. ด้านการควบคุม สิ่งที่เหมือนกัน คือ สำนักงานยุติธรรมทั้ง 2 จังหวัดได้มีการรับสมัครบุคลากรที่ทางสำนักงานฯต้องการด้วยตัวของสำนักงานฯเอง สิ่งที่แตกต่างกัน คือ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐมจะมีตัวชี้วัด การทำงานที่ชัดเจนซึ่งมาจากกระทรวงฯโดยมีด้วยกันทั้งหมด 10 ตัวชี้วัดซึ่งทาง สำนักงานยุติธรรมจังหวัดสมุทรสงครามไม่มีตัวชี้วัดดังกล่าว, สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐมมีการประเมินผลงานของบุคลากรภายในที่มีความชัดเจน โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ และสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐมได้ให้ยุติธรรมจังหวัดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ไปอบรมตามความต้องการที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน และ4. ด้านการนำ สิ่งที่เหมือนกัน คือ การเน้นความสันพันธ์ในที่ทำงานแบบไม่เป็นทางการ เน้นที่ความสันพันธ์แบบมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในและบุคลากรที่ในสังกัดกระทรวงฯ, มีบรรยากาศ การทำงานแบบเป็นประชาธิปไตย บุคลากรสามารถแสดงความคิดเห็นที่มีในที่ประชุมได้ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของบุคลากรของสำนักงานฯ และสภาพแวดล้อมในการทำงานจึงเป็นแบบครอบครัว สิ่งที่แตกต่างกัน คือ ความแตกต่างในอำนาจในการจัดการสำนักงานฯ ผู้บริหารสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐมมีอำนาจในการควบคุมดูแล ตัดสินใจทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานยุติธรรมได้ทั้งหมดเป็นอำนาจในการบริหารที่แท้จริง แต่ในส่วนของสมุทรสงครามในการดำเนินการจะต้องผ่านคณะกรรมการบริหารสำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั้งหมดทำให้ผู้บริหารไม่มีอำนาจที่แท้จริงในการบริหารสำนักงานยุติธรรม

               ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น 1) บุคลากรไม่เพียงพอต่องานที่ได้รับ 2) การไม่มีกฎหมายมารองรับสำนักงานยุติธรรมและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างสมบูรณ์ 3) การลงพื้นที่ในการสร้างเครือข่ายชุมชนไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในพื้นที่ในการสร้างเครือข่าย 4)บุคลากรของสำนักงานยุติธรรมยังขาดความเชี่ยวชาญในงานที่ได้รับมอบหมาย

 

Abstract

               The research aimed at study of the management of Provincial Justice Offices is a new forms and matrix and comparative the similarities and differences of the two forms. It also has to consider the problems and obstacles. Including the ways to promote the management of the 2 area. The study used a qualitative research approach, with the in-depth interviews and observations. The study has collected data from documents and data from personal interviews, a total of 17 people.

            The results showed that a comparison of the management 4 sides of the provincial justice offices are as follows: 1) Planning : The two provinces have been planned in the performance of the 4-year Plan and Work Plan of the Ministry of Justice, Office of Justice four years of the province, That make the similarities in the work plan, a project. Things are different, total budget of the 2 offices have been directly affected by the project maps are defined. Gold and objectives of the work. And shared values are different, it’s depending on the discretion of each office to make a suit local conditions. 2) Organizing :The two province 

officials working for the Office will hire a contractor to hire. And temporary employees and the standing committee on Justice, Executive Office of the province to oversee the work of the office. Things are different Nakhon Pathom is the bureaucrat had been stationed officers in each sector. This will be different from Samutsongkhram head of each sector to the staff turnover. And borad of Nakhon Pathom is similar to the previous caretaker of an introduction to the work The Board of Samutsongkhram. with the authority to regulate and oversee all operations of the office. 3) Control : The two provinces have to recruit staff at the office with the requirements of the office itself. Things are different Nakhon Pathom there will be a clear indicator of the work of the ministry, which has a total of 10 indicators. Samutsongkhram doesn’t have any indicator. Nakhon Pathom have the evaluation of the personnel are clear. Whereas the Commission on Audit. And the Nakhon Pathom province have related staff have been trained by the need to enhance the performance. 4) Leading: The two province are focus about relationships at work, no formal, focus on the relevance, the involvement of staff and personnel under the supervision of the Ministry, has a working on democracy. People can comment in a meeting. This demonstrates the value the opinions of the staff of the Office. And in the work environment like a family. Things are different the power to manage the office. Executive in Nakhon Pathom has the power to govern. Decide all matters related for their office. Has all the power in the actual administration. But in the Samut Songkhram in action goes through the entire province of Justice Executive Office management has no real power in the administration of the district.

               The problems and obstacles: 1) a lack of personnel to work to earn 2) the absence of legislation to support the office and the performance of the staff completely 3) the space to build community networks have not been cooperating. a lot of people in the area to create a network. 4) The staff of the office's lack of expertise in the work assigned.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ