ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

รุ่งโรจน์ ธรรมอัน
อินทร์ จันทร์เจริญ
วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรสนับสนุนการสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2555 จำนวน 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยสภาพภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

               ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย เมื่อพิจาณาในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผู้รักษาสถานภาพเดิม ด้านผู้สร้างสรรค์ที่ควบคุม ด้านผู้บริหารกระบวนการ และ ด้านผู้สร้างสรรค์ให้มีส่วนร่วม ตามลำดับ และ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ควรใช้หลักการจัดการแนวธุรกิจมาประยุกต์ใช้ ควบคุมการดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ เปิดโอกาสให้บุคลากรสามารถเสนอความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ

คำสำคัญ   : ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ , โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

 

Abstract

            The purposes of this research were to study; 1) the strategic leadership of Phrapariyattidhamma School General Education Chiangrai Province and 2) the suggestion of the 

strategic leadership of Phrapariyattidhamma School General Education Chiangrai Province. The sample size 202 people that consisted of administrators , teachers and officers under the Phrapariyattidhamma School General Education Chiangrai Province. The instrument was used the questionnaire with five-level scale included the level of strategic leadership which the reliability was 0.97. The statistics used in the data analysis were percentage (%) mean () and standard deviation (S.D.).

               The results showed that 1) the strategic leadership of Phrapariyattidhamma School General Education Chiangrai Province, as a whole and an individval, were at high level. In order mean from maximum to minimum were as follows; Status Que Guardian, High-Control Innovator, Process Manager and Participative Innovator respectively and 2) the suggestion the strategic leadership of Phrapariyattidhamma School General Education Chiangrai Province should apply business management to conduct school systems such as administrators should ask for other people’s opinions or other people should share their opinions to create academic activities.

 

Keywords  : Strategic Leadership , Phrapariyattidhamma School General Education

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ