ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก

Main Article Content

วสันต์ สุทธาวาศ
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ค้นหาความหมายของนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาครัฐ และ 2) สร้างทฤษฎีฐานรากเกี่ยวกับความเป็นนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหาข้อสรุปเชิงทฤษฎีจากมุมมองและทัศนะของข้าราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดตัวอย่างเชิงทฤษฎีด้วยคุณสมบัติ คือ เป็นข้าราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความเชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 20 ปี ใช้แบบแผนการสุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง และแบบสโนว์บอล จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ระดับลึก การสังเกตและจดบันทึก และการศึกษาจากเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ หมายถึง ผู้ที่ริเริ่ม ประดิษฐ์คิดค้น สร้างสรรค์ และสนับสนุน ให้เกิดเทคนิควิธีการ รูปแบบ เครื่องมือ กระบวนการ หรือผลงาน ที่เป็นนวัตกรรม สำหรับใช้ ในการปฏิบัติงานของตนเอง องค์การ และส่งมอบไปยังระบบการจัดการศึกษา ซึ่งมีประโยชน์ มีคุณค่า และเหมาะสมต่อการพัฒนา และแก้ปัญหาทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ 2) ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาในภาครัฐ มี 2 ประการ ประกอบด้วย ประการแรก คือ การได้มาซึ่งความเป็นนวัตกรทางการศึกษาในภาครัฐ มี 6 ปัจจัย ได้แก่ การโยกย้าย/เลื่อนตำแหน่งงาน การได้รับมอบหมายงานที่ท้าทาย การศึกษาดูงานและฝึกอบรมพัฒนาสมรรถนะ การพัฒนาทัศนคติและแรงจูงใจ การทบทวนการปฏิบัติงาน และการเผชิญ กับสิ่งแวดล้อม ในองค์การทางการศึกษาภาครัฐ ประการที่สอง คือ คุณลักษณะสำคัญของนวัตกรทางการศึกษาในภาครัฐ มี 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความสามารถ ด้านพฤติกรรม และด้านทัศนคติ โดยจะมีองค์ประกอบสำคัญในแต่ละด้าน ซึ่งตอนท้ายของบทความได้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงทฤษฎี และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติที่ได้จากผลวิจัย ซึ่งมุ่งเน้นแนวทางเสริมสร้างศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสม

คำสำคัญการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นวัตกรรม, นวัตกร


Abstract

               This research was aimed 1) to find a meaning of basic educational innovator in public sector and 2) to theorize a grounded theory of basic educational innovator in public sector. The study was qualitative research designed to find a theoretical conclusion in the views of officers in the Office of Basic Educational Commission (OBEC). A sample, theoretically determined with characteristics, was 12 officers who were experted in research and develop of basic educational innovation, and not less than 20 years of work experiences. The researcher used purposive and snowball sampling techniques to get the sample. The researcher collected data by in-depth interview, observation, note taking, and documentary study. The result showed that 1) basic educational innovator in public sector means who was initiate, invent, create, and support of innovation technique, model, tool, process or product for using in their work, organization and deliveries to the educational system, that is useful, valuable and appropriate to the development and solution of basic education in the public sector. 2) The basic educational innovator in public sector had 2 dimensions including. First, acquisition of basic educational innovator in public sector that had 6 factors consisted of job rotation/promotion, challenging work assignments, visiting and training, attitudes and motivation development, action review and confrontation to educational organization environment in the public sector. Second, key characteristic of basic educational innovator in the public sector had 3 dimensions including ability, behavior and attitude, all these consists of several essential-elements. At the end of article, the research also proposed both theoretical and practical suggestions that focus on the appropriated potentiality development approach for basic educational innovator.

Keywords:        Basic Education, Innovation, Innovator

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ