การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการสร้างคำในภาษาไทย โดยจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะ

Main Article Content

เสาวณีย์ โพธิ์เต็ง

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการสร้างคำในภาษาไทย โดยจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2  โรงเรียนเทศบาล 3 (เทศบาลสงเคราะห์) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 25 คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเรื่องการสร้างคำในภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบฝึกทักษะเรื่องการสร้างคำในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการสร้างคำในภาษาไทย และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะเรื่องการสร้างคำในภาษาไทย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา  (Content Analysis) 

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการสร้างคำในภาษาไทย โดยจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยร่วมกับแบบฝึกทักษะในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

Abstract

               The purposes of this research were 1) to compare learning achievement of thai language word formation of grade 7 Students by using inductive learning approach with language exercises between pretest and posttest 2) to investigate students' opinion towards learning activities by using inductive learning approach with language exercises. The sample of this research were 25 of grade 7 students from Tedsaban 3 (Tedsabansongkroh) School, Ratchaburi Municipality Ratchaburi Province in academic year 2014. The samples in this study was randomly selected, the classroom unit was used as research.The instruments of this research were 1) lesson plans based on inductive learning approach; 2) language exercises of thai  language word formation; 3) achievement test of thai language word formation; and 4) student opinion questionnaire on learning activities. The data was statistically analyzed by mean ( ), standard deviation (S.D.), t-test dependent and content analysis.

               Results were found as follows 1) there was significant difference between learning achievement of thai language word formation of grade 7 students at the .05 level, which mean students’ learning achievement of thai language word formation of post-test higher than  pre-test 2) student’ opinions towards learning management through inductive learning approach with language exercises were at the higth level, which mean grade 7 students  were  satisfied  with  learning  activities.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ