ข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยการจัดการความรู้ ในการลดระดับ ความเบื่อหน่ายในการเรียนของนักศึกษา

Main Article Content

ปิรันธ์ ชิณโชติ
ธีระวัฒน์ จันทึก

Abstract

บทคัดย่อ

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการการจัดการความรู้มาสร้างเป็นนโยบายของสถาบันการศึกษา เพื่อลดระดับความเบื่อหน่ายในการเรียนที่เป็นผลเชิงลบต่อผลการเรียนของนักศึกษา บทความได้อธิบายกระบวนการการจัดการความรู้ที่ประกอบด้วย1) Socialization 2) Externalization 3) Combination และ 4) Internalization ซึ่งเป็นกระบวนการที่สามารถลดระดับความเบื่อหน่ายในการเรียนทั้งสามลักษณะได้แก่ 1) ความเหน็ดเหนื่อยที่เกี่ยวข้องกับการเรียน (Study-related exhaustion) 2) การแยกตัวออกจากสังคมที่เกิดขึ้นจากการเรียน (Study-related cynicism) 3) ความรู้สึกที่ตนไร้ความสามารถในการเรียน (A lack of study-related efficacy)  โดยกระบวนการจัดการความรู้ที่จะสามารถลดความเบื่อหน่ายในการเรียนได้นั้นสามารถ สร้างเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย เป็นลักษณะกิจกรรมในสามข้อเสนอซึ่งได้แก่ 1) สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนากระบวนการเรียน และสื่อการสอน 2) สนับสนุน และส่งเสริม กิจกรรมสร้างสัมพันธ์ระหว่างกัน 3) สร้างขวัญและกำลังใจ แก่ผู้เรียน ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลต่อผู้เรียน เพิ่มศักยภาพ สร้างผลงานที่ดีมีคุณภาพ มีการพัฒนาการศึกษาที่ดีได้ต่อไป

 

Abstract

            The propose of this article to present policy of knowledge management in class participation, to improve teaching and learning process and reduce study-related burnout for student. Knowledge management process which included 1) Socialization 2) Externalization 3) Combination and 4) Internalization will reduce study-related burnout in 3 aspects which included 1) Study-related exhaustion 2) Study-related cynicism 3) A lack of study-related efficacy. This article proposed 3 policy to achieve learning process improvement which are 1) Cooperate to improve study process and medium, 2) Support relationship activities, and 3)    To encourage the student in learning process

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ