ผลการเรียนด้วยชุดการเรียนแบบเรียนร่วมมือ เรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความสามารถด้านการอ่านต่างกัน

Main Article Content

สุดา แย้มสรวล
เอกนฤน บางท่าไม้

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนาชุดการเรียนแบบเรียนร่วมมือ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มเก่ง ปานกลาง อ่อน ที่เรียนด้วยชุดการเรียนแบบเรียนร่วมมือ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  3) ศึกษาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนทั้งสามกลุ่ม ที่เรียนด้วยชุดการเรียนแบบเรียนร่วมมือ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนแบบเรียนร่วมมือ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  กลุ่มโรงเรียนบางเลน จำนวน  8  โรงเรียน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random sampling) โดยใช้วิธีการจับสลาก  คือ  โรงเรียนวัดผาสุการาม จำนวน 1 ห้องเรียน โดยจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อน

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มผลสัมฤทธิ์  2) ชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  3) แบบวัดความสามารถด้านการอ่าน เรื่อง มาตราตัวสะกด  4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องมาตราตัวสะกด 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง มาตราตัวสะกด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  E1/Et-test for dependent samples และ ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ค่าประสิทธิภาพ 80.20/81.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของกลุ่มเก่ง ( = 18.00,S.D = 1.309) กลุ่มปานกลาง ( = 16.43,S.D = 1.397) และกลุ่มอ่อน ( = 13.80,S.D =.837) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนด้วยชุดการเรียนแบบร่วมมือ 3) คะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนทั้งสามกลุ่ม ที่เรียนด้วยชุดการเรียนแบบร่วมมือเรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 แสดงว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถทางด้านการอ่านของนักเรียนทั้งสามกลุ่มหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน และความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทั้งสามกลุ่ม มีความสามารถด้านการอ่านหลังเรียนสูงขึ้นไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า ความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทั้งสามกลุ่ม มีความสามารถด้านการอ่านที่สูงขึ้นไม่แตกต่างกัน 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนแบบร่วมมือ เรื่อง มาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.54, S.D = 0.34)

Abstract
The purposes of this research were : 1) to develop a cooperative learning package on spelling in Thai subject for prathomsuksa 2 students 2) to compare the results achievement before and after learning of students group with to ability excelled , moderate , Weak by cooperative learning package on spelling subject in thai for prathomsuksa 2 students 3) the ability to read all students three groups to learn by cooperative learning package on spelling subject in thai for prathomsuksa 2 students 4) to study the satisfaction of the students toward the cooperative learning package on spelling subject in thai for prathomsuksa 2 students. The sample was school group banglen. Derived from Simple Random sampling. is Watpasukaram School one classroom were divided into 3 groups: excelled, moderate and weak the research instrument : 1) the lesson plan by cooperative learning using Student Team Achievement Division 2) instructional package the approach cooperative learning 3) Reading Test, the spelling section 4) learning achievement test 5) the students satisfaction form. The collected data were analyzed using mean ( ), standard deviation (S.D.) ,E1 / E2 t-test for dependent samples. and ANOVA
The research finding were as follows : 1) the cooperative learning package on spelling subject in Thai for prathomsuksa 2 students created has a Efficiency E1 = 80.20 E2 = 81.25 according to set criteria. 2) comparing learning Achievement found that student using the 

learning package post-test higer than pre-test different significance at the .05 level. On the average after learning of the excelled (=18.00 , S.D. = 1.309) moderate (= 16.43,             S.D. = 1.397) and weak (= 13.80, S.D. = .837) higher than the average pretest score with a series of cooperative learning 3) the average the reading ability of students. The three groups with cooperative learning package the spelling Thai subject for prathomsuksa 2 students  before and after learning. different significance at the 0.5 level shows that the average score on the reading ability of all three groups the higher than average pretest score. And the ability to read the students the prathomsuksa 2 , students of all three groups were able to read the higher  is no different . The statistical significance. 05 Level shows that the reading of students learning a of instructional package. The spelling Thai subject for prathomsuksa 2 students of the three groups capable of reading higher no different 4) the satisfaction of students on cooperative learning  spelling Thai subject for prathomsuksa 2 students . Overall, the high level (= 2.54, S.D. = 0.34) 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ