การพัฒนาสื่อการอบรมเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ชิตชบา สายใจ
รัฐพล อ้นแฉ่ง

Abstract

บทคัดย่อ

            การพัฒนาสื่อการอบรมเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตสายไหม กรุงเทพมหานครมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสื่อ (แผ่นพับและโปสเตอร์) ในการให้ความรู้สำหรับประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว และเพื่อประเมินความรู้ของประชาชนก่อนและหลังการอบรมให้ความรู้ด้วยสื่อที่พัฒนาขึ้นซึ่งได้มีการประเมินความถูกต้องของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญก่อนไปอบรม การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบวัดผลก่อนและหลังทดลองที่ศึกษาในประชากรของหมู่บ้านในเขตสายไหมที่อยู่ในการดูแลด้านสาธารณสุขของคลินิกชุมชนอบอุ่น ซึ่งประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านแสงธรรม ชุมชนรัชดา-ออเงิน  และชุมชนวัดหนองใหญ่  จำนวน 320 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ข้อมูลจากการทดสอบก่อนและหลังการอบรม ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสถิติ ประกอบด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Paired samples t-test

            ผลการศึกษาพบว่า ผลการประเมินสื่อที่พัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ท่าน ในด้านเนื้อหา ภาพและภาษา รวมถึงความเหมาะสมของแบบทดสอบที่ใช้สำหรับทดสอบก่อนและหลังการอบรมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (3.78 จาก 4 คะแนน) และเมื่อนำสื่อไปใช้ในการฝึกอบรมแก่กลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกหลังการให้ความรู้โดยรวมสูงกว่าก่อนการให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม โดยมีความคิดเห็นโดยรวมที่เปลี่ยนแปลงเป็นการเห็นด้วยที่มากขึ้น รวมทั้งมีการปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกหลังการให้ความรู้โดยรวมสูงกว่าก่อนการให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสื่อที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพที่ทำให้ประชาชนมีความรู้        การปรับเปลี่ยนทัศนคติ และการปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

          หน่วยงานที่ให้บริการด้านการสาธารณสุขอาจนำสื่อที่พัฒนาขึ้นนี้มาใช้ประโยชน์ในการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่อาจมีการแพร่ระบาดในชุมชนในเขตความรับผิดชอบได้ สำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป ควรศึกษาเกี่ยวกับการนำสื่อไปใช้กับผู้นำชุมชนได้มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันและ

ควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนอื่นๆ เพื่อเป็นการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ปราศจากการระบาดโรคไข้เลือดออกได้ต่อไป

 

คำสำคัญ การพัฒนาสื่อ / การป้องกันและการควบคุมโรค / โรคไข้เลือดออก / กรุงเทพมหานคร

 

Abstract

            Development of training media for prevention and control of Dengue fever in Sai Mai district, Bangkok has objectives to create media (leaflet and poster) for educating the people in order to have knowledge regarding prevention and control of the disease. The people’s knowledge before and after training using the developed media was evaluated afterward. The developed media was evaluated its correction by experts prior to the training. This study was quasi-experimental research measuring before and after treatment which studied in Sai Mai district’s population. There were three communities in the district, i.e., Sangthum, Ratchada-Orngun and WatNongYai, where their public health was responsible by the community health center. A number of 320 residents in such communities were as a sample group which was sampled by mean of accidental sampling. Data were collected before and after the training and was analyzed using a statistical program including frequency, percentage, mean and Paired samples t-test.

            The results showed that the developed media’s evaluation result in aspects of content, picture and language as well as appropriate of the test used before and after the training by four experts were totally fall in the range of high (the score of 3.78 out of 4). After using the developed media for training to the sample group, it found that they had higher overall knowledge for preventing and controlling Dengue fever than those before with statistically significance (p<0.05). It was also found that attitudes of the samples for preventing and controlling the disease after the training were higher than those before. Their overall attitudes were change to more agree after the training too. In addition, their overall practices regarding preventing and controlling the disease were higher than those before the training with statistically significance (p<0.05).These indicated that the developed media had an efficiency to distribute knowledge, changing attitude and practice of the people in order to prevent and control Dengue fever.

          The public health service organizations may utilize this developed media to educate people regarding prevention and controlling Dengue fever which may spread out in their responsible communities. For future study, study on utilizing the developed media for educating communities' leaders in order to have a right knowledge for prevention and 

controlling the disease should be conducted. This strengthens the communities to get rid of Dengue fever afterward.

 

Keyword: Media development / prevention and controlling disease / Dengue fever /Bangkok

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ