แผนผังวัดสองพี่น้อง เมืองสรรคบุรี : รูปแบบผสมระหว่างศิลปะอยุธยาและสุโขทัย

Main Article Content

อโนชา ทับทิม

Abstract

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบศิลปกรรมภายในวัดสองพี่น้อง อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท โดยทำการศึกษาวิเคราะห์งานศิลปกรรมที่พบในปัจจุบัน ร่วมกับข้อมูลหลักฐานใหม่ที่ได้จากการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีของกรมศิลปากร ในปี พ.ศ.2554 และข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อศึกษาศิลปกรรมวัดสองพี่น้องอย่างรอบด้านมากขึ้น

            จากการศึกษาสรุปได้ว่า วัดสองพี่น้อง มีปรางค์ประธานและแผนผังแบบอยุธยาตอนต้น ซึ่งรับรูปแบบมาจากปรางค์ในเมืองลพบุรีและปรางค์ในราชธานีกรุงศรีอยุธยา แต่แผนผังได้ผสมระบบการสร้างเจดีย์บริวารและระเบียงคดแบบสุโขทัยเข้าไว้ด้วย สามารถกำหนดอายุศิลปกรรมวัดสองพี่น้องได้ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กระแสวัฒนธรรมสุโขทัยและอยุธยาได้ผสานเข้าด้วยกันแล้ว สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของเมืองสรรคบุรีที่เคยเป็นเมืองลูกหลวงสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้น ในยุคนี้จึงเกิดการสร้างวัดวาอารามหลายแห่ง รวมทั้งวัดสองพี่น้องแห่งนี้ด้วย

คำสำคัญ : วัดสองพี่น้อง/สรรคบุรี

 

Abstract

            The purpose of this study about Wat Songpeenong, Sanburi district in Chainat province. Through analyzing not only works of art and The Fine Arts Department’s new archaeological data of excavation site in year 2011 but also studying from historical data to inform Wat Songpeenong’s work of art cleary.

The results of this study showed that the main construction of Wat  Songpeenong  ; the Prang and the main plan, had constructed in early Ayudhaya period because of this influences not only accepted the art form of the main constructor from Prang in Lopburi and Ayudhaya kingdom but also mixed the smaller chedi system ; cornered chedi and side chedi, and the cloister influenced from Sukhothai period. Therefor the age estimation of Wat Songpeenong was in early Ayudhaya period around mid 20th B.E. when the time of Sukhothai cultural trend mixed with Ayudhaya cultural trend already, conformed with the important buffer town in early Ayudhaya period as Sanburi’s historical story. So there were many religious places built in this period of time including Wat Songpeenong.

Keyword :  Wat Songpeenong/Sanburi

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ