การประเมินโครงการเบญจวิถีนำทางสรรสร้างครอบครัวต้นแบบสายใยรัก ของศูนย์การเรียนรู้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ศิริพร ศิริรัตน์
นพพร จันทรนำชู
นรินทร์ สังข์รักษา
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการเบญจวิถีนำทางสรรสร้างครอบครัวต้นแบบสายใยรักของศูนย์การเรียนรู้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว จังหวัดราชบุรี เป็นการศึกษาในพื้นที่บ้านโป่งกระทิงบน ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการฯ จำนวน 5 คน ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 16 คน สมาชิกในครอบครัวผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 66 คน ประชาชนบ้านโป่งกระทิงบน จำนวน 254 คน กลุ่มเยาวชนแกนนำบ้านโป่งกระทิงบน จำนวน 15 คน รวม 356 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า แนวการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

               ผลการวิจัยการประเมินโครงการเบญจวิถีนำทางสรรสร้างครอบครัวต้นแบบสายใยรักของศูนย์การเรียนรู้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว จังหวัดราชบุรี ตามรูปแบบการประเมินซิปเปี้ยสของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPPIEST Model) พบว่า

            1.          การประเมินโครงการเบญจวิถีนำทางสรรสร้างครอบครัวต้นแบบสายใยรักของศูนย์การเรียนรู้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว จังหวัดราชบุรี ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ผู้เข้าร่วมโครงการ สมาชิกในครอบครัว และประชาชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความเห็นของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เป็นรายด้าน พบว่า 1) ด้านบริบท มีความเหมาะสมในระดับมาก 2) ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง 4) ด้านผลผลิต มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง 5) ด้านผลกระทบ มีความเหมาะสมในระดับ มาก 6) ด้านประสิทธิผล มีความเหมาะสมในระดับมาก 

7) ด้านความยั่งยืน มีความเหมาะสมในระดับมาก และ 8) ด้านการถ่ายโยงความรู้ มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาความเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการ สมาชิกในครอบครัว และประชาชน พบว่า ทั้ง 8 ด้านมีความเหมาะสมในระดับมาก 1) ด้านบริบท มีความเหมาะสมในระดับมาก 2) ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมในระดับมาก 4) ด้านผลผลิต มีความเหมาะสมในระดับมาก 5) ด้านผลกระทบ มีความเหมาะสมในระดับ มาก 6) ด้านประสิทธิผล มีความเหมาะสมในระดับมาก 7) ด้านความยั่งยืน มีความเหมาะสมในระดับมาก และ 8) ด้านการถ่ายโยงความรู้ มีความเหมาะสมในระดับมาก

               2.  แนวทางการส่งเสริมความสำเร็จของโครงการเบญจวิถีนำทางสรรสร้างครอบครัวต้นแบบสายใยรักของศูนย์การเรียนรู้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว จังหวัดราชบุรี พบว่า ต้องมีการกำหนดแผนการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ มีการนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ พร้อมทั้งให้ประชาชนเรียนรู้ปัญหา และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยมีหน่วยงานคอยช่วยเหลือและสนับสนุน พร้อมทั้งต่อยอดในสิ่งที่ประชาชนสนใจเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

คำสำคัญ: เบญจวิถี/โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว/แนวทางการส่งเสริมความสำเร็จ

 

Abstract

               The evaluation of Benjavithi to created with The Saiyairak's family template The Learning Center under The Family love bonding project, Ratchaburi was a study in Ban Pongkratingbon of Banbueng Sub-district, Banka District, Ratchaburi Province. The sample consists of 5 persons of project directors and responsible officers, 16 participants, 66 members of participants’ families and 66 people in Ban Pongkratingbon; therefore, the total number is 356 persons. The tools for data collections were questionnaire rating scales, interviews and focus group discussion. The research data were analyzed, standard deviation and content analysis.  

               The results of the evaluation of Benjavithi to created with The Saiyairak's family template The Learning Center under The Family love bonding project, Ratchaburi, which based on Stufflebeam’s CIPPIEST Model. The results showed as follows:  

            1.          The evaluation of Benjavithi to created with The Saiyairak's family template The Learning Center under The Family love bonding project, Ratchaburi according to the views of project directors, officers, participants, members of families and local people, the overall picture is in high level, according to the views of directors and officers, it was found that 1) context evaluation was appropriate at the high level 2) input evaluation was appropriate at the high level 3) process evaluation was appropriate at the average level 4) product evaluation was appropriate at the average level 5) impact evaluation was appropriate at the a high level 6) effectiveness evaluation was appropriate at the high level 7) sustainable evaluation was 

appropriate at the high level and 8) transportation evaluation was appropriate at the average level and according to the views of participant, family members and local people, it was found that all 8 perspectives are appropriate and in high level 1) context evaluation was appropriate at the high level 2) input evaluation was appropriate at the high level 3) process evaluation was appropriate at the high level 4) product evaluation was appropriate at the high level 5) impact evaluation was appropriate at the a high level 6) effectiveness evaluation was appropriate at the high level 7) sustainable evaluation was appropriate at the high level and 8) transportation evaluation was appropriate at the high level.

               2.  The guidelines of achievement of Benjavithi model to created with The Saiyairak's family template The Learning Center under The Family love bonding project, Ratchaburi, it was found that there should be specific development outlines to focus on participation in other sections and to exchange information among related units for integrated solutions by allowing people to learn and to solve the problems. In addition, there were always responsible units provide assistance and support to further people’s interest, aiming to provoke the change of behavior which results to the development of better living.

Keywords: Benjavithi, Family Love Bonding Project, The guidelines of achievement

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ