กลยุทธ์การบริหารด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

พิทักษ์ มั่นจันทึก
ศุภณัฏฐ์ ทรัพย์นาวิน

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การบริหารด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 2) ศึกษาปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการบริหารด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี และ 3) หาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การบริหารด้านการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยของเทศบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

                    1.  กลยุทธ์การบริหารด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดลงไป 3 อันดับ คือ ด้านวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การ ด้านพันธกิจและภารกิจ และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ ส่วนการบริหารด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาล ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านจากค่าเฉลี่ยมากที่สุดลงไป 3 อันดับ คือ ด้านการจัดการหลังเกิดภัย ด้านการบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉิน และด้านการป้องกันและลดผลกระทบ

                    2.  ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อการบริหารด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในอนาคต ด้านพันธกิจและภารกิจ ด้านการเตรียม ความพร้อมของทรัพยากร และด้านวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การ และมีสัมประสิทธิ์การทำนายคิดเป็นร้อยละ 78.70

                    3.  แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การบริหารด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ หน่วยงานควรกำหนดนโยบาย ระเบียบ และแนวทางการปฏิบัติงานให้ชัดเจน โดยประสานความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร ผู้นำชุมชน และประชาชนร่วมกันประชุมวางแผนการปฏิบัติงาน การเตรียมความพร้อม การจัดสรรงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย สำรวจและจัดทำพื้นที่กลุ่มเสี่ยงที่เข้าถึงได้ยาก เพื่อกำหนดเส้นทางการจราจรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และมีการซักซ้อมแผนการปฏิบัติงานอยู่เสมอ

คำสำคัญ : กลยุทธ์การบริหาร,  การบริหาร,  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 

Abstract

               The purposes of this research were to: 1) study the strategic administration of disaster prevention and mitigation in Muang municipality, Phetchaburi province, 2) study the strategic factors that affect to performance of disaster prevention and mitigation in Muang municipality, Phetchaburi province, and 3) appropriate development guideline for the strategic administration of disaster prevention and mitigation in Muang municipality, Phetchaburi province. Primary data were 400 people living in Muang municipality, Phetchaburi province. The data analysis is comprised of percentage, mean, standard deviation, stepwise multiple regression analysis and content analysis. The research found as follow:

               1.  The strategic administration of disaster prevention and mitigation was overall at a medium level ranging from the highest 3 level : the purpose and goals of the organization, the ministry and mission, and the vision of the organization. Section the administration of disaster prevention and mitigation was overall at a medium level ranging from the highest 3 level : after the disaster management, emergency management, and the prevention and reduction of impacts.       2.  The strategic factors that affect to performance of disaster prevention and mitigation in Muang municipality, Phetchaburi province such as analysis of the environment in the future, the ministry and mission, the preparation of the resource, and the purpose and goals of the organization. A prediction coefficient was for casted approximately 78.70 percent.

               3.  The appropriate development guideline for the strategic administration of disaster prevention and mitigation including the agency should establish policies and operational guidelines make it clear, the collaboration between administrators, community leaders and citizens together the operational planning, preparedness, budget allocation, advanced materials, survey and areas difficult to reach vulnerable for route traffic in the event of emergency, and always rehearsing operational plans.

 

Keywords: the strategic administration, administration, disaster prevention and mitigation

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ