การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียโดยใช้บริบทชุมชนเชิงสร้างสรรค์เรื่องเครื่องเบญจรงค์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3

Main Article Content

อังค์สร กฤตนันท์
อนิรุทธ์ สติมั่น
สมหญิง เจริญจิตรกรรม
เอกนฤน บางท่าไม้

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชน สำหรับพัฒนาสื่อมัลติมีเดียโดยใช้บริบทชุมชนเชิงสร้างสรรค์เรื่องเครื่องเบญจรงค์ 2) เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียโดยใช้บริบทชุมชนเชิงสร้างสรรค์เรื่องเครื่องเบญจรงค์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียโดยใช้บริบทชุมชนเชิงสร้างสรรค์ เรื่องเครื่องเบญจรงค์ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียโดยใช้บริบทชุมชนเชิงสร้างสรรค์ เรื่องเครื่องเบญจรงค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษ สมุทคุณ" ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่ายมา 1 ห้องเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม (Simple Random Sampling)

               เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับศึกษาบริบทของชุมชน2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อมัลติมีเดีย 3) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อ 4) สื่อมัลติมีเดียโดยใช้บริบทชุมชนเชิงสร้างสรรค์ เรื่องเครื่องเบญจรงค์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเครื่องเบญจรงค์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 6) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียโดยใช้บริบทชุมชนเชิงสร้างสรรค์ เรื่องเครื่องเบญจรงค์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่าที (t-test)

               ผลการวิจัยพบว่า

               1.  ผลการศึกษาบริบทชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ในการผลิตเครื่องเบญจรงค์ จากการสัมภาษณ์ โดยสามารถสรุปเนื้อหาสาระได้ดังต่อไปนี้ 1) ประวัติความเป็นมาและการถ่ายทอดภูมิปัญญาการผลิตเครื่องเบญจรงค์จากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ 2) กระบวนการผลิตเครื่องเบญจรงค์ 3) ลวดลายและจุดเด่นของเครื่อง เบญจรงค์ และ 4) คุณค่าของเครื่องเบญจรงค์และแหล่งจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์

               2.  ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องเบญจรงค์ พบว่า สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องเบญจรงค์ มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 79.17/79.11 เป็นไปตามเกณฑ์

               3.  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง เครื่อง              เบญจรงค์ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

               4.  ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง เครื่องเบญจรงค์ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50

 

Abstract

               The purposes of this research were: 1) to study the community context for development of multimedia by using context of creative community on the Benjarong, 2) to develop multimedia by using context of creative community on the Benjarong, 3) To compare the students’ achievement before and after learning by multimedia, and 4) to study the students’ opinion on multimedia by using context of creative community. The research samples consisted of 30 student of the third level education students of Krathumban Wisetsamutkhun School, Krathumban, Samutsakhorn. The research was conducted within second semester of academic year 2014.

               The instruments of this research were: 1) structured interviews for the community context, 2) Structured interviews for specialist of multimedia, 3) lesson plans using the media, 4) multimedia by using context of creative community on the Benjarong, 5) an achievement test, and 6) questionnaire to the multimedia using context of creative community. Statistical methods used to analyze data were mean ( ), standard deviation (SD), and statistical t-test     (t-test).

               The results of this research were as follows:

               1.  The study creative context. Benjarong Production Interview The summary has the following contents: 1) the history of Benjarong production and transfer of knowledge from the old generation to the new generation, 2) manufacturing process Benjarong, 3) Production of Benjarong process, and 4) the value of Benjarong and product distribution.

               2.  The efficiency of the multimedia by using context of creative community on the Benjarong E1/E2 was 79.17 / 79.11.

               3.  The comparison showed that their mean posttest score was significantly higher than pretest at the 0.05 level of significance. 

               4.  The opinions of the learners with the multimedia using context of creative community on the Benjarong was at a high level. The average score was 4.46, standard deviation 0.50.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ